กระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าของเพศชายในจังหวัดนนทบุรี
The Decision Process to Access a Facial Treatment Clinic for Men in Nonthaburi Province
คำสำคัญ:
กระบวนการตัดสินใจ, คลินิกดูแลรักษาผิวหน้า, เสริมความงามบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะด้านประชากรศาสตร์ของเพศชายในจังหวัดนนทบุรีที่เข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้า 2) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าของเพศชายในจังหวัดนนทบุรี 3) เพื่อเปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าของผู้ชายในจังหวัดนนทบุรี จำแนกตามลักษณะด้านประชากรศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือแบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือ ประชากรเพศชายที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานใช้การเปรียบเทียบค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) มีการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference)
ผลการศึกษาพบว่า ระดับความสำคัญของกระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าของเพศชายในจังหวัดนนทบุรีในภาพรวม มีระดับความสำคัญอยู่ในระดับที่มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตัดสินใจเข้าใช้บริการมีระดับความสำคัญมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ด้านการ
ประเมินทางเลือก ด้านพฤติกรรมหลังการเข้าใช้บริการ ด้านการค้นหาข้อมูล และด้านการตระหนักถึงปัญหา ตามลำดับ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะด้านประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสถานภาพแตกต่างกันมีกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกดูแลรักษาผิวหน้าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กันยพัชร์ วิชญชัยสิทธิ์. (2561). กระบวนการตัดสินใจท าศัลยกรรมเสริมความงามของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระ, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2561). วิธีการสุ่มตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลัดดาวัลย์ กมลสรวงเกษม. (2561). สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ศศินา ลมลอย และคณะ (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คลินิกเสริมความงาม ด้านผิวพรรณ ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุดารัตน์ โลกธรรมลักษณ์. (2554). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสำหรับเพศชายของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี. การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรรพสิริ ชัยเกียรติธรรม. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บ ารุงผิวส าหรับเพศชายในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หทัยทิพย์ เครือทัต. (2557). บุคลิกภาพและกระบวนการตัดสินใจใช้บริการคลินิกรักษาผิวของเพศชายในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
หนังสือพิมพ์วิเคราะห์ตลาด. (2563). ตลาดความงาม. (ออนไลน์). สืบค้นจาก:https://www.marketingoops.com/reports/industry-insight/value-and-trend-beauty-market-2020/. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563
Kotler,P. (2012). Marketing Management (The Millennium edition). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Positioning Magazine. (2563).ฐานเศรษฐกิจ. (ออนไลน์).สืบค้นจาก https://positioningmag.com/magazine/Details.aspxid=44459&menu=magazine,businessdata. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2563.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์