การบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูงในอุตสาหกรรม การผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ในจังหวัดปทุมธานี

Management of Talent Employee in Automotive Lighting Manufacturing Industry in Pathum Thani Province.

ผู้แต่ง

  • สมบัติ ศรีตุลานนท์, ดิเรก ธรรมารักษ์, ธนกฤต โพธิ์เงิน

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ผู้มีความสามารถสูง, อุตสาหกรรม, อุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ใน จังหวัดปทุมธาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพการบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูง การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สร้างขึ้นโดยใช้การสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีของ คะนึงนิจ อนุโรจน์,สุกัญญา มกุฎอรฤดี; Naschberger; Maria & Martinez; Callahan ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานบริษัทอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 3,000 คน กลุ่มตัวอย่างหาค่าโดยเปิดตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกนได้ จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย สัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ได้แก่แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ นำไปหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ .85 และนำข้อมูลคุณภาพมาวิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหา สถิติที่ใช้ ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
          ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับสภาพการบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามล าดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน และปานกลาง 3 ด้าน อันดับแรก คือ ด้านการบริหารจัดการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการสรรหาบุคลากร ด้านการให้รางวัลและการจูงใจ ด้านการสร้างคนให้มีศักยภาพและมีค่าเฉลี่ยปานกลางได้แก่ ด้านการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาบุคลากรด้านการรักษาบุคลากร 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูง พบว่าปัจจัยด้านวัฒนธรรมการเรียนรู้ และ ปัจจัยด้านสมรรถนะของบุคลากร ส่งผลต่อการบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูงในอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ในจังหวัดปทุมธานีได้
ร้อยละ 51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 

References

คนึงนิจ อนุโรจน์. (2552). บูรณาการทฤษฎีสู่แนวคิดการสร้างคนเก่งคนดีขององค์กร. เข้าถึงได้จาก http://ahph9thi.gotoknow.org/assets/media/files/000/401/951/original_HRM.pdf?12857.

ณัฐพันธ์ เขจรนันท์. (2548). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พยอม วงศ์สารศรี. (2538). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พรานนกการพิมพ์.

สุกัญญา มกุฎอรฤดี. (2554). วัฒนธรรมองค์กรกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย. วารสารโดมทัศน์, 32(2), 44-54.

อีริคสัน, ทามารา เจ และ แกรททอน, ลินดา. (2555). การบริหารจัดการคนเก่ง. (ณัฐยา สินตระการผล, แปล). กรุงเทพฯ, เอ็กเปอร์เน็ท.

Callahan, S., Schenk, M., & White, N. (2008). Building a collaborative workplace. Retrieved from http://www.anecdote.com/papers/AnecdoteCollaborativeWorkplace_v13.pdf

Chan, K. H. (2009). Impact of intellectual capital on organizational performance: an empirical study of companies in the Hang Seng index (Part 1). The Learning Organization, 16(1), 4 - 21. Retrieved from http://dx.doi.org/10.1108/09696470910927641.

Cohn, J. M., Khurana, R., & Reeves, L. (2005). Growing talent as if your business depended on it. Harvard Business Review, 83(10), 62.

Krejcie, R.V. & Moran, D.W. (1970) . Determining Sample Size For Research Activities. Educational and Measurement, 30(30), pp. 607 - 610.

Maria, M-L, I., & Martínez-G, J. A. (2011). The influence of organizational structure on organizational learning. International Journal of Manpower, 32 (5/6), 537-566. doi 10.1108/01437721111158198

Naschberger, C. (2007). Talent management: The case of high potential management of graduates of a French business school. Retrieved from http://www.agrh.fr/assets/actes/2008naschberger.pdf

Ready, D. A., & Conger, J. A (2007). How to fill the talent gap. Online Wall Street Journal. Retrieved from http://online.wsj.com/article/SB118841695428712511.html

Vladescu, A. (2012). The possibility of implementing talent management in the public sector. Management & Marketing, 7(2), 351. Retrieved from http://search.proquest.com/openview/99759da21922c817793079966ad5487e/1?pq-origsite=gscholar

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29

How to Cite

ศรีตุลานนท์ ส. (2021). การบริหารจัดการพนักงานผู้มีความสามารถสูงในอุตสาหกรรม การผลิตอุปกรณ์ส่องสว่างยานยนต์ในจังหวัดปทุมธานี: Management of Talent Employee in Automotive Lighting Manufacturing Industry in Pathum Thani Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(3), 217–231. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/263356