หลักความคุ้มครองที่ไทยต้องมีต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย
Protection Principles that that Thailand Must have for Foreign Tourists in Thailand
คำสำคัญ:
ความคุ้มครองนักท่องเที่ยวต่างชาติ, การท่องเที่ยว, ธุรกิจท่องเที่ยวบทคัดย่อ
การศึกษาหลักความคุ้มครองที่ไทยต้องมีต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติในไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรับผิดและความคุ้มครองนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในประเทศไทย โดยศึกษากรณีของเรือฟินิกซ์ล่มที่เกาะเฮ จ.ภูเก็ต และการเข้าร่วมอนุสัญญากรอบการท่องเที่ยวอย่างมีจริยธรรม และพิธีสารเลือกรับ
ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว โดยพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย หรือการตีความอันทำให้เกิดช่องโหว่เกี่ยวกับ nominee ที่คนต่างด้าวสมรู้ร่วมคิดกับคนไทยหาทางเลี่ยงกฎหมายเพื่อที่จะทำธุรกิจในประเทศไทยได้โดยไม่ต้องขออนุญาต สำหรับการดำเนินคดีกับคนต่างชาตินั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินการตามอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ค.ศ. 1963 ข้อ 36 โดยจะต้องแจ้งให้ผู้ถูกจับทราบว่ามีสิทธิแจ้งให้สถานทูต หรือสถานกงสุลทราบถึงการจับกุมนั้นโดยไม่ชักช้า การเยียวยาช่วยเหลือผู้เสียหายจากรัฐบาลไทยกรณีของความคุ้มครองนักท่องเที่ยวต่างชาติในประเทศไทยเกี่ยวกับความไม่เหมาะสมการปรับลดหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว นอกจากนี้การที่ประเทศไทยได้รับรอง (Adopted) อนุสัญญากรอบการท่องเที่ยวอย่างมีจริยธรรม แม้ว่าจะยังไม่ได้เป็นภาคีในร่างอนุสัญญาดังกล่าว แต่เนื่องจากการบัญญัติคำนิยามของ “ผู้มีส่วนได้เสีย” หรือบุคคลผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายท่องเที่ยวที่ที่ปรากฏในร่างอนุสัญญาฯ ดังกล่าวนั้นถือเป็นแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวของไทยให้สอดคล้องกับหลักการท่องเที่ยวสากล
ข้อเสนอแนะ แก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 มาตรา 4 คำนิยามของ “คนต่างด้าว” และเพิ่มวรรคท้ายของ กฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินหลักประกันการประกอบธุรกิจนำเที่ยว พ.ศ. 2563 “ทั้งนี้ให้มีผลเฉพาะช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ” และเพิ่มเติมคำนิยาม “ผู้มีส่วนได้เสีย”ในพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2562 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ให้สอดคล้องกับร่างอนุสัญญากรอบการท่องเที่ยวอย่างมีจริยธรรมเพื่อประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทยในอนาคต
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว (2563). สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย.(ออนไลน์) สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th/policy/(15 ธันวาคม 2564)
ไทยพับลิก้า, (2559), ผู้ตรวจการแผ่นดินชงกฎหมายตัวแทนอำพรางไม่เปิดช่องธุรกรรมซับซ้อนต่างชาติถือครองที่ดิน.(ออนไลน์) สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2013/08/the-nominees-foreign-land-ownership/(20 พฤศจิกายน 2564)
ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2561). ศพที่ 47 กู้สำเร็จ ‘เรือฟีนิกซ์’ทับจ่ายเยียวยา 61ล., ฟื้นฟูท่องเที่ยว. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/content/1335145.
ฐานเศรษฐกิจ. (2560). “นอมินี” เปิดช่องต่างชาติฉกรายได้ท่องเที่ยวไทย. สืบค้นจากhttp://www.thansettakij.com/content/59108 (20 ตุลาคม2563)
รายงานหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ฉบับที่ นร 0907/324
สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา:กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2563
อิสร์กุล อุณหเกตุ. (2556). รายงานสรุปและวิเคราะห์พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542, (รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์), สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพมหานคร.
Juan J. Quintana. (2008) . Consular Notification in Death Penalty Cases Returns to the World Court: A Note on Avena and Medellín. Human Rights Brief . 16 (1). Retrieved from http://digitalcommons.wcl.american.edu/hrbrief/vol16/iss1/6 (15 October 2020)
World Tourism Organization . (2020), Framework Convention on Tourism Ethics, Retrieved from https://www.eunwto.org/doi/pdf/10.18111/9789284421671(15 October 2020)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์