รูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับบรรเทาสาธารณภัยจากน้ำหลากของฝายห้วยชัน กรณีศึกษาฝายห้วยชัน ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
The environmental model for disaster relief from the various waters of Huay Chan, the case study of Huay Chan, Saklong Sub-district, Lom Sak District, Phetchabun Province
คำสำคัญ:
: สิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง, สาธารณภัย, ฝายห้วยชัน, ประตูน้ำด้านหน้า, ประตูน้ำด้านหลังบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับบรรเทาสาธารณภัยจากน้ำหลากของฝายห้วยชัน 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนบ้านห้วยชันที่มีต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างฝายห้วยชัน และ 3) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนบ้านห้วยชันต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างฝายห้วยชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือประชาชนบ้านห้วยชัน หมู่ที่ 7 ตำบลสักหลง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56 มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 37 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 48 และมีอาชีพเกษตรกร คิดเป็นร้อยละ 38 การออกแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับบรรเทาสาธารณภัยจากน้ำหลากของฝายห้วยชัน เป็นการออกแบบคลองทางอ้อม โดยเจาะทางระบายน้ำสู่คูด้านข้างปรับเป็นคลอง ก่อสร้างประตูน้ำ และกำแพงกันดิน โดยการใช้ประตูน้ำวิถีชาวบ้าน ประตูน้ำตามหลักวิศวกรรม กำแพงกันน้ำ ปะทะตรง และกำแพงกันน้ำปะทะรอง ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของประชากรกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีความพึงพอใจต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับบรรเทาสาธารณภัยน้ำหลากของฝายห้วยชัน ประตูน้ำด้านหน้า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.53 และมีความพึงพอใจประตูน้ำด้านหลัง อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 และผลการวิเคราะห์ข้อมูลความคิดเห็นของประชากรกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นต่อรูปแบบสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างสำหรับบรรเทาสาธารณภัยน้ำหลากของฝายห้วยชัน จะช่วยให้แก้ไขปัญหาน้ำหลากในฤดูฝน และสามารถเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรในฤดูแล้งได้ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.32
References
จิรนันท์ พุทธา และคณะ. (2561). การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. บทความวิจัยวารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2561.
เดชา บุญค้ำ. (2544). เอกสารประกอบการอภิปรายเรื่อง “วิถีสู่ความเป็นเมืองน่าอยู่”. กรุงเทพฯ : อัดสำเนา.
นงนุช โอบะ และคณะ. (2554). การจัดการสาธารณภัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อลดผลกระทบของน้ำท่วมและแผ่นดินถล่มในชุมชนแห่งหนึ่ง. บทความวิจัยวารสารการพยาบาลและสุขภาพปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม 2554.
ปุณิกา พรานพนัส และคณะ. (2563). การจัดการอุทกภัยในภาวะวิกฤตของไทย. บทความวิจัยวารสารรัชตภาคย์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 36 กันยายน – ตุลาคม 2563.
พิจักษณ์ หิญชีระนันทน์ และคณะ. (2561). สภาพแวดล้อมที่พึงประสงค์สำหรับการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายในหน่วยงานราชการ : กรณีวิจัยกรมชลประทานปากเกร็ด. บทความวิชาการ วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 ประจำเดือนพฤษภาคม - กันยายน 2561.
ธัญภัทร ชื่นหิรัญ. (2558). แนวทางการออกแบบสถาปัตยกรรมและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างบริเวณพื้นที่ริมน้ำ : กรณีศึกษาพื้นที่ริมต้นน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวดี ทองสุกปลั่ง หรรษาสุขสิน. (2554). เศรษฐศาสตร์สำหรับสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักทะเบียนอำเภอหล่มสัก. (2565). ที่ทำการปกครองอำเภอหล่มสัก. อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์.
องค์การบริหารส่วนตำบลสักหลง. (2565). ประวัติความเป็นมา. แหล่งที่มา https://www.saklong.go.th/history.php สืบค้นเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565.
Best, John W. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice Hall, Inc.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychomeetrika. 16 (3), 297-334.
Likert, R. (1932). A technique for the Measurement of Attitudes. New York : New York University.
Yamane, Taro. (1976). Statistics : An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์