การพัฒนาหลักสูตรการนวดไทยซึ่งสอดคล้องกับการได้รับการประกาศการจดทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก

The Development of the Format of NUAD THAI Curriculum which Conform to the Announcement Registration is the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity from UNESCO

ผู้แต่ง

  • ฎิฐศกุล ศรีนาค, ศุภะลักษณ์ ฟักคำ โรงพยาบาลศูนย์บริการการแพทย์นนทบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, หลักสูตรการนวดไทย, มรดกวัฒนธรรมที่จับไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักสูตรการนวดไทยที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบหลักสูตรการนวดไทยซึ่งสอดคล้องกับการได้รับการประกาศการจดทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากยูเนสโก มีวิธีดำเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาองค์ความรู้ทางการแพทย์แผนไทยและหลักสูตรการนวดไทยที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2) การสร้างแบบสัมภาษณ์และโครงสร้างหลักสูตร 3) นำแบบสัมภาษณ์ออกไปเก็บข้อมูลและนำโครงสร้างหลักสูตรไปขอความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิเชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย จำนวน 16 ท่าน และ 4) นำข้อมูลจากการสัมภาษณ์และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงสร้างหลักสูตรที่สร้างขึ้นมาวิเคราะห์

          ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรการนวดไทยที่มีการเรียนการสอนในปัจจุบันเป็นหลักสูตรที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก สร้างชื่อเสียง ความภาคภูมิใจแก่คนไทย และให้คนไทยเห็นความสำคัญและตระหนักถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมไว้ และการเรียนการสอนหลักสูตรการนวดไทยในปัจจุบัน มีการเรียนการสอนหลายระดับ ที่สามารถนำไปประกอบวิชาชีพตามความต้องการของตลาดแรงงาน และยังคงมีการนวดพื้นบ้านอีกมากมายที่ควรจะต้องสำรวจ เก็บข้อมูล เพื่อไม่ให้สูญหายไปกับหมอพื้นบ้านคนนั้น ๆ 2) การพัฒนาหลักสูตรการนวดไทยให้สอดคล้องกับการได้รับการจดทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่สร้างความน่าเชื่อถือ สร้างความเชื่อมั่นในการรักษา และต่อยอดองค์ความรู้เดิม พัฒนาอาชีพทั้งในและต่างประเทศ จากแบบสอบข้อคิดเห็นโครงสร้างหลักสูตรการนวดไทย ได้มีการปรับให้เหมาะสมและทันสมัยกับผู้เรียน

References

ยงศักดิ์ ตันติปิฎก. (2561). นวดไทย มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.

สถาบันการแพทย์แผนไทย. (2556). มาตรฐานโรงพยาบาลส่งเสริมและสนับสนุนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2559). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2257-2559. กรุงเทพฯ: กองทุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย.

PPTV Online. (2562). ยูเนสโก ยก “นวดไทย” เป็นตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้. (ออนไลน์). สืบค้นจาก https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/115848 (2564, 20 กุมภาพันธ์).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite

ศรีนาค ฎ. (2022). การพัฒนาหลักสูตรการนวดไทยซึ่งสอดคล้องกับการได้รับการประกาศการจดทะเบียนเป็นรายการตัวแทนมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก: The Development of the Format of NUAD THAI Curriculum which Conform to the Announcement Registration is the Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity from UNESCO. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(3), 163–179. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/263039