การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาการพูดภาษาเวียดนาม โดยใช้การจัดการเรียนรู้บบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาเวียดนาม วิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองฉงจั่ว

The Study of Student’s Learning Achievement and Satisfaction Using STAD Cooperative Learning for Vietnamese Spoken Language Course of The Second Year Students Majoring in Vietnamese in Chongzuo Vocational and Technical School

ผู้แต่ง

  • เฟลเช่น หน่อง, คงศักดิ์ สังฆมานนท์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ภาษาเวียดนาม, ความพึงพอใจในการเรียน, เทคนิคการสอนแบบ STAD

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนระหว่างก่อนและหลังการเรียนวิชาการพูดภาษาเวียดนามและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาเวียดนามวิทยาลัยอาชีวศึกษาเมืองฉงจั่วศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพูดภาษาเวียดนามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาเวียดนามจำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย1) แผนการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาการพูดภาษาเวียดนามรูปแบบ STAD มีคุณภาพในระดับมากที่สุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อมีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.40-0.68 ค่าอำนาจจำแนก 0.35-0.52 ค่าความเชื่อมัน 0.84 3) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับจำนวน 15 ข้อมีค่า IOC ระหว่าง 0.60-1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ร้อยละค่าเฉลี่ยค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test)

         ผลการวิจัยพบว่า

  1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ0.01และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ75เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ0.01
  2. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคSTAD โดยรวมในระดับมากที่สุด (=4.82)

References

BoonchomSrisaat. (1998). Teaching Development. (2nd Edition). Bangkok : Children’s Club.

Johnson, D.W. and Johnson, R.T. 1987. “Research Shows the Benefits of Adult Cooperation”, The Educational Leadership. 45 (November 1987), 27-30

Kenneth G. Jung, Anthony Dalessioand Steven M. Johnson. (2017).

Stability of theFactor Structure of the Job Descriptive Index. Published Online:30 Nov 2017https://doi.org/10.5465/256227.

Slavin, Robert E. 1990. Cooperative Learning : Theory, Research and Practice. New Jersey : Prentice - Hall.

Slavin, Robert E. 1995. Cooperative Learning Theory, Research and Practice. 2nd ed.

Massachsetts : A Simom& Schuster. Slavin, Robert E. 1995. Cooperative Learning. 2nd ed. USA : Allyn and Bacon.

Sukanya Yamklebe. (2016). Development of learning activities set of STAD technique with Meta Cognition strategies to support the ability of solving problems in Math ; ratio and percentage for MattayomSuksa 2 students. Humanities and Social Sciences Journal of Graduate School, Pibulsongkram Rajabhat University Volume 10 (2), 103-121.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-30

How to Cite