รูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก

Tourism Business Model in the Special Economic Zone of Tak Province

ผู้แต่ง

  • วลัยลักษณ์ พันธุรี นักศึกษาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยว, พื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มุ่ง 1) ศึกษาปัจจัยประกอบการตัดสินใจในเลือกแหล่งท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 2) ลักษณะปัจจัยภายนอกธุรกิจที่เป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจการท่องเที่ยว 3) เปรียบเทียบปัจจัยประกอบการตัดสินใจในเลือกแหล่งท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจำแนกตามลักษณะพื้นฐานผู้ตอบแบบสอบถาม 4) เสนอรูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก การวิจัยเป็นแบบผสมวิธี ในส่วนของเชิงคุณภาพสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้างจากแนวคิดประกอบการตัดสินใจในเลือกแหล่งท่องเที่ยวชาวไทยผู้ให้ข้อมูลหลักที่เป็นผู้บริหารธุรกิจท่องเที่ยว จำนวน 5 ท่านเพื่อทำแบบสอบถาม และการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อพิจารณาปรับร่างรูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตาก ให้มีความสมบูรณ์ และวิธีเชิงปริมาณเป็นหลัก เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นนักท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก จำนวน 5,004 คน ขนาดตัวอย่าง 370 คน ผ่านการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ  ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดลำดับด้วยค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบความแตกต่างด้วย t –test และ F-test และถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 370 คน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยประกอบการตัดสินใจในเลือกแหล่งท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษมีความสำคัญมากที่สุดคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว  ด้านความปลอดภัย ส่วนด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์  ด้านสินค้าของที่ระลึก และด้านภาพลักษณ์มีความสำคัญมาก ตามลำดับ 2) ลักษณะปัจจัยภายนอกธุรกิจที่เป็นภัยคุกคามต่อธุรกิจการท่องเที่ยวมีความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านนโยบายทางการเมือง ด้านโรคติดต่อ ส่วน ด้านสภาวะเศรษฐกิจและการเมือง ด้านความนิยมในการท่องเที่ยว ด้านเส้นทางคมนาคม  มีความสำคัญมาก ตามลำดับ 3) นักท่องเที่ยวไทยที่มีอาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ระดับการศึกษา อายุ และเพศแตกต่างกันมีปัจจัยประกอบการตัดสินใจในเลือกแหล่งท่องเที่ยวชาวไทยในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษไม่แตกต่างกัน 4) รูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตากขึ้นอยู่กับด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก  ด้านความปลอดภัย ด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์  ด้านทรัพยากรการท่องเที่ยว ด้านภาพลักษณ์ และด้านสินค้าของที่ระลึกปัจจัยเหล่านี้ร่วมกันพยากรณ์รูปแบบการดำเนินธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ จังหวัดตากได้ร้อย 50.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของประเทศ พ.ศ.2560-2564 พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พีดับบลิว ปริ้นติ้ง.

กาญจนา กาแก้ว. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่วนเกษตร จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 18). สำนักงานพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติยา มโนธรรมรักษา. (2559). การศึกษาแรงจูงใจและความพึงพอใจมีผลต่อพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษา ตลาดน้ําอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัยฤทธิ์ ทองรอด. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ล่องเรือชมสวน เลียบคลองมหาสวัสดิ์ อําเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี,12(2),115–131.

ธรา สุขคีรี. (2559). แรงจูงใจและทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อด้านสภาพแวดล้อมและ ด้านการจัดการในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประชาชาติธุรกิจ. (2561). ส่องเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด-เมียวดี เร่งโครงสร้างพื้นฐานรับลงทุนเต็มสูบ. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564. จาก https://www.prachachat.net/ facebook-instant-article/news-118155.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2552). เทคนิคการเขียนรายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติฉบับที่ 12. สำนักนายกรัฐมนตรี.

Vitheesawat, Amornrat. (2007). Study of Physical Environmental Changed for Zoning Depend on Limit of Carrying Capacity to Support Tourism in Koh Changewat Trad. Master of Science Thesis in Geography. Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite