การพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดนนทบุรี

Community Development according to Sufficiency Economy Philosophy Principles in Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • กำพล ศรีโท, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชน, หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การส่งเสริม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากร ได้แก่ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปมีภูมิลำเนาในจังหวัดนนทุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 18 คน จำแนกเป็น ผู้นำท้องถิ่น/ชุมชน 4 คน ประชาชนทั่วไป 14 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า  

          1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านกระบวนการจัดการชุมชน ด้านผู้นำชุมชน ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมชุมชน ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม ด้านจิตใจ ด้านเทคโนโลยี และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ

          2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชน ด้านผู้นำชุมชน ด้านกระบวนการจัดการชุมชน ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และด้านจิตใจพบว่าส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในจังหวัดนนทบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

          3. ควรส่งเสริมให้ประชาชนมีสภาพจิตใจที่พร้อมจะเรียนรู้ พร้อมที่จะนำความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตประจำวัน

References

ขวัญกมล ดอนขวา. (2557). แบบจำลองปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย. สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการ สำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.

ณพิชญา วาจามธุระ. (2552). กระบวนการพัฒนาและปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ในการขับเคลื่อน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา 4 ชุมชน จาก 4 ภูมิภาค. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธนากร สังเขป. (2556). การพัฒนาที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประทีป มากมิตร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จต่อการพัฒนาชุมชนพูนบำเพ็ญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร.วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ปี ที่ 19 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560.

ปิติณัช ไศลบาท. (2550). การจัดการฐานทรัพยากรและโครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมที่เอื้อต่อการ พัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านนาฝาย ตำบลหัวเรืออำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

พีรพัฒน์ พันศิริ. (2559). การพัฒนาองค์กรชุมชน. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

มูลนิธิชัยพัฒนา. (2553). ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารมูลนิธิชัยพัฒนา, ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2553.

มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ.(2555).พระสืบสานแนวพระราชดำริ แนวคิด ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พ.ศ. 2555. สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลัง.

วิทูลย์ แก้วสุวรรณ. (2559). การพัฒนาชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมถ์.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง : ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักงาน คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2555). โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อประโยชน์แห่งทวยราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2554). การทรงงานพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

เสกสรร สนวา. (2559). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการจัดการตนเองของชุมชนอย่างยั่งยืน.

อุษณากร ทาวะรมย์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. ชลบุรี : วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed.). New York: Harper Collins.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York. Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite