สภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี

Environment and Public Participation Affecting Public Policy Effectiveness for Health of Local Administrative Organizations in Saraburi Province

ผู้แต่ง

  • สมชาย โพธิ์รักษา, ภมร ขันธะหัตถ์, ธนิศร ยืนยง นักศึกษาระดับปริญญาเอก หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อม, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ประสิทธิผล, นโยบายสาธารณะ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป มีทะเบียนบ้านอยู่เขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน  เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพจำนวน 20 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  สถิติวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. ประสิทธิผลของนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสระบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปน้อย คือ ด้านการร่วมตัดสินใจ รองลงมาได้แก่ ด้านปัจจัยทางด้านเทคโนโลยี ด้านการร่วมในการประเมินผล ด้านปัจจัยทางเศรษฐกิจ ด้านปัจจัยทางสังคม  ด้านการร่วมปฏิบัติการ ด้านปัจจัยทางการเมือง ด้านปัจจัยทางภูมิศาสตร์ และด้านการร่วมรับผลประโยชน์ ตามลำดับ

          2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี คือ ด้านปัจจัยทางสังคม ด้านการร่วมรับผลประโยชน์ และด้านการร่วมในการประเมินผล นั้นส่งผลต่อแนวทางนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสระบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

          3. ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานนั้นจะสร้างบทบาทของประชาชนต่อการรักษาสิทธิประโยชน์ของตนเองและชุมชน

References

กฤษณ์ รักชาติเจริญ. (2563). ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จและปัจจัยสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. สำนักงานบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ประเวศ วะสี. (2553). สุขภาพในฐานะอุดมการณ์ของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : สำนักงานปฏิรูปสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ประเวศ วะสี. (2556). กระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public Policy Process). พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพมหานคร : บจก. แวนเทจ สตูดิโอ.

พงษ์ภัทร์ รัตนสุวรรณ. (2560). การกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพในระดับท้องถิ่น : กรณีศึกษา เทศบาลตำบลขุนยวม อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการส่งเสริมสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิรุฬห์ ศิริทองคำ. (2561). รูปแบบการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพระดับท้องถิ่น ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สมบัติ ธํารงธัญวงศ์. (2556). นโยบายสาธารณะ : แนวความคิดการวิเคราะห์และกระบวนการ.กรุงเทพฯ: อักษรการพิมพ์.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2552). นโยบายสาธารณะแนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. คณะรัฐประศาสนศาสตร์, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สำนักพิมพ์เสมาธรรม์, (พิมพ์ครั้งที่ 2).

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, (พิมพ์ครั้งที่ 4).

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2557). นโยบายด้านสาธารณสุข. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

อัญชิรญา จันทรปิฎก. (2555). กระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมของสมัชชาสุขภาพจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Anderson, James E. (1994). Public Policy – Making : Introduction. 2 nd. New York : Houghton Mifflin Company.

Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No. 2 The Rural Development Committee Center for International Studies, Cornell University, January.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.

Midha, A. D. (2018). Contradictions in Health Promotion and Workplace Health Promotion with Particular Reference to Wales. Thesis (Ph.D.), University of Wales Swansea.

Milton, Karen. (2014). An Analysis of the Development of Public Health Policy to Promote Walking in England. Loughborough University.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd. New York.Harper and Row Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite