ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์

Online Marketing Mix Factors Affecting OTOP Product Purchasing Decisions via Online Platforms

ผู้แต่ง

  • ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช, วรารัตน์ สิทธิวงษ์, พัสวรรณ ใจเป็ง, อณัศยา เสียงใส คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์, ผลิตภัณฑ์โอทอป, แพลตฟอร์มออนไลน์

บทคัดย่อ

         การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และ(2)ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มบนออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่างจำนวนตัวอย่างจำนวน 385 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งการตรวจสอบความเที่ยงตรง (IOC) ของส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ .96 และการตัดสินใจซื้อได้ .74 ส่วนการทดสอบความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .959 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า

          ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีระดับความสำคัญในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยด้านด้านผลิตภัณฑ์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 4.34 รองลงมาคือการรักษาความเป็นส่วนตัว  สถานที่จัดจำหน่าย การใช้บริการส่วนบุคคล  การส่งเสริมทางการตลาด  ซึ่งมีระดับความสำคัญมากที่สุดทุกปัจจัยยกเว้น ปัจจัยด้านราคาที่มีระดับความสำคัญระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20  ส่วนระดับสำคัญของการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มออนไลน์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ซึ่งปัจจัยด้านการเลือกผู้ขาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.37 รองลงมาคือการเลือกตราสินค้า   การเลือกปริมาณการซื้อ  และการเลือกเวลาซื้อ ตามลำดับ โดยมีระดับความสำคัญมากที่สุดทุกด้าน การวิเคราะห์ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอปบนแพลตฟอร์มบนออนไลน์ พบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ทุกด้านส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มบนออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กานต์พิชชา งามชุ่ม ดวงตา สราญรมย์ และกรัณย์พัฒน์ อิ่มประเสริฐ. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทาง การตลาดออนไลน์ พฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ด้านความงามของผู้บริโภคผ่านช่องทางการค้าแบบดิจิทัล. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 5(2), 9-15.

ฐิติรัตน์ มีเพิ่มพูนศรี สุกัญญา หอมหวาน และปิยะนุช เงินชูศรี. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ ของผู้บริโภคเขตใน กรุงเทพมหานคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒน, 12(2), 275-287.

ณฐภศา เดชานุเบกษา. (2565). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์และรูปแบบเครื่องมือสื่อสารตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ้าไทยและผ้าพื้นเมืองบนตลาดออนไลน์ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6(2), 106 – 121.

ณัตตยา เอี่ยมคง และดนุชา สลีวงศ์ (2559). สภาพปัจจุบันความต้องการและความคาดหวังของ ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าโอทอปที่มีต่อการขายสินค้าผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์. วารสาร วิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 11(1), 31-42.

พรพรรณ รัตนตรัยวงศ์. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในเขตจังหวัดประทุมธานี. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

มนทกานต์ โกรัมย์ และพิพัฒน์ นนทนาธรณ์. (2565). คุณลักษณะของแพลตฟอร์มออนไลน์และผลิตภัณฑ์กัญชากัญชงที่ผู้บริโภคเลือกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 27(2), 104-121.

มาลินี คำเครือ และธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1),1-8.

เมธาวี เผ่าเมธวารีธร. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอปบนออนไลน์ของผู้บริโภค. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

รวิภา สู้สกุลสิงห์ และวราวุธ ฤกษ์วรารักษ์. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าผ่านเว็บไซด์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. Natural Postgraduate Student Colloquium; NPSC, 66-83.

เรวดี ฉลาดเจน และชาตยา นิลพลับ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลตอการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มเจเนอเรชั่น Y. วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ม 11(2), 91-103.

วรวลัญช์ วิวรรธน์นิธิ และชิตพงษ์ อัยสานนท์. (2565). ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านทางอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภค ในเขตจังหวัดนครปฐม. วารสาร วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 3(1), 11-25.

วริศรา กลมทุกสิ่งและชวินท์ ธัมมนันท์กุล. (2564). แพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์: อาชีพเกิดใหม่ในยุคดิจิทัล. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(2), 379-387.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). ผลสำรวจมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยปี 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://data.go.th/th/dataset/item_34a6eabd-9bb2-46f9-a85a-9907de4bf0b3

อรรถพล แก้วศรีนวล และชนิดา ยาระณะ. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อธัญพืชอบกรอบผ่านช่องทางออนไลน์. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 8, 619-630.

อาทิตยาพร ประสานพานิช. (2561). แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ของ โรงแรมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการ บริหารธุรกิจ, 7(ก.ค.-ธ.ค.), 10-25.

อัชฌาพร กว้างสวาสดิ์ และอังคณา จัตตามาศ. (2565). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสื่อสารทางการตลาดออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าโอทอป, วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. 17(1), 20-28.

Lasi, M. B. A. (2021). The Relationship between E- Marketing Mix Strategy and Integrated Marketing Communication: A Conceptual Framework. International Journal of Economics and Management Systems, 6 (2021), 167-184.

Sam K. M., and Chatwin C. R. (2012). Measuring E-Marketing Mix Elements for Online Business. International Journal of E-Entrepreneurship and Innovatio, 3(3), 13-26.

Valerio, C., William, L. and Noémier, Q. (2019). The Impact of Social Media on E-Commerce Decision Making Process. International Journal of Technology for Business (IJTB), 1(1), 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite