ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาสังคมร่วมกับการเสริมแรงทางสังคม และเทคนิคเบี้ยอรรถกร เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์)

The Effect of Social Cognitive Behavioral Modification Program and Using Token Economy Collaborate With Social Reinforcement Program In improving public mind On Students In Mathayomsuksa 3 at Seekan (Watthana Uppayum) Secondary School

ผู้แต่ง

  • พรสุดา เปลื้องหน่าย, มนัสนันท์ หัตถศักดิ์

คำสำคัญ:

จิตสาธารณะ, การปรับพฤติกรรมทางปัญญาสังคม, การเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกร

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาสังคมร่วมกับการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกร เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จานวน 366 คน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้วิวิธีการจับสลาก 1 ห้องเป็นกลุ่มทดลอง และ 1 ห้องเป็นกลุ่มควบคุมเพื่อให้ประชากรทุกคนมีโอกาสถูกเลือกเท่าๆ กัน นักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 60 คนเขวาร่วมกิจกรรม11 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาสังคมร่วมกับการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกร เพื่อพัฒนาจิตสาธารณะ 2) แบบวัดจิตสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ Parametric Statistics Paired –Sample t – test และ Parametric Statistics Independent – Sample t - test

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดจิตสาธารณะ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  2. ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดจิตสาธารณะสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
  3. นักเรียนกลุ่มทดลองมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าภายหลังการเขวาร่วมโปรแกรมฯ ช่วยให้นักเรียนพัฒนาตนเอง มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญของการมีจิตสาธารณะรู้จักใช้และช่วยด้วยแลรักษาของส่วนรวม ทำตามหนน้าที่ที่ได้รับมอบหมายโดยมุ่งเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม มีนำใจ ช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีโอกาส ซึ่งส่งผลให้นักเรียนเป็นบุคคลที่มีจิตสาธารณะและทาประโยชน์เพื่อสังคมต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรวิกา โสรัจจะวงค์ และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์ . (2563). ผลของโปรแกรมการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร

และการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนวัดธรรมาภิรตาราม กรุงเทพมหานคร. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37 (102):178-188.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2566). ภาพอนาคตและคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์.กรุงเทพฯ : สำนักพัฒนาการเรียนรู้และมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมการกากับตนเองต่อทัศนคติการใชวความรุนแรงและพฤติกรรมการควบคุมตนเองในนักเรียนวัยรุ่น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 33(2): 13-18.

นพมาศ อุวงพระ (ธีรเวคิน). (2551). ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นภาพร ปรีชามารถ. (2565). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาจิตวิทยาการปรับพฤติกรรมในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : ภาคจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นุสสรี คันธิก. (2553). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปนพงษ์ งามมาก. (2556). ผลของโปรแกรมการเสนอตัวแบบและการเสริมแรงทางสังคมที่มีต่อการพัฒนาจิตสาธารณะของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสลงพันธ์ จังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 2 (3), 161-168

ปวีร์ ม่วงชื่น. (2563). ผลการใชวโปรแกรมทางกายภาพตามทฤษฎีการกากับตนเองที่มีต่อการลดพฤติกรรม

ติดเกมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 68 (3):184-196.

พิชชาพัชร อรรถบท และ มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2560). ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมทางปัญญาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมกลวาแสดงออกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 3 (2):10-21.

มนัสนันท์ หัตถศักดิ์. (2566). การปรับพฤติกรรม: แนวคิดสู่การประยุกต์ใช้และวิจัย. นนทบุรี: ซีเอที.โซลูชั่น.

ระเวียง ดอนศรีชา. ( 2556). การใชวกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5 (6), 119-129

ศศิธร พงษ์โภคา. (2557). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการแก้ปัญหาอนาคตร่วมกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สราวุฒิ พลตื้อ. (2559). การสรวางเสริมคุณลักษณะจิตสาธารณะด้วยการสอนแบบสรวางองค์ความรู้จากตัว

แบบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2): 143-147.

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2562). วาระการวิจัยแห่งชาติในภาวะวิกฤตเพื่อฟื้นฟูชาติ. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

สุริยเดว ทรีปาตี. (2556). ต้นทุนชีวิตเด็กและเยาวชนไทย. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 52 (1): 36-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite