ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลในจังหวัดอ่างทอง
Factors Influencing People's Participation in the Preparation of Strategic Plans of Municipalities in Ang Thong Province
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล , การมีส่วนร่วม , แผนยุทธศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนใน จังหวัดอ่างทอง และ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลใน จังหวัดอ่างทอง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) กรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ใช้แนวคิดของเนตร์พัณนา ยาวิราช, เดสส์ และมิลเลอร์ (Dess & Miller) เดวิด (David) และกลิกแมน, กอร์ดอน,และกอร์ดอน (Glickman, Gordon, & Gordon) ประชากรที่ใช้ได้แก่ ประชากรผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาล จำนวน 116,698 คน นำมาคำนวณขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของเครชซี่และมอร์แกน ได้จำนวน 3.84 เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามได้ค่าเชื่อมั่น .9223 และ .9142 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดอ่างทอง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ดังนี้ ปัจจัยด้านบุคคล ปัจจัยด้านความตระหนักในประโยชน์ ปัจจัยด้านชุมชน ปัจจัยด้านองค์กร ปัจจัยด้านความยึดมั่น ผูกพันต่อท้องถิ่น การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลในจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติตามกลยุทธ์ ด้านการกำหนดกลยุทธ์ ด้านการประเมินกลยุทธ์ ด้านการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และด้านการควบคุมกลยุทธ์ และปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของเทศบาลใน จังหวัดอ่างทอง สามารถพยากรณ์ความสำเร็จได้ ร้อยละ 75.9 2) วิเคราะห์ปัจจัย พบว่า ปัจจัย 5 ตัว ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล ด้านชุมชน ด้านเทศบาล ด้านความตระหนักในประโยชน์ และด้านความยึดมั่น ส่งผล ได้ร้อยละ 75.9 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2553). พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 8) พ. ศ. 2553. กรุงเทพฯ: มศว. ประสานมิตร.
จุฬาลักษณ์ กอบัวกลาง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นวลน้อย ตรีรัตน์, และคณะ. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการดําเนินงานของ. อบต. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2549). ภาวะผู้นำ และผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กซ์เพรส.
เมตตา แก้วอุดม (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาสามปี (2552-2554) กรณีศึกษา: องค์การบริหารส่วนตำบลคลองประเวศ อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์. (2545). การปกครองท้องถิ่นกับการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
สถาบันดำรงราชานุภาพ. (2546). การพัฒนาตัวชี้วัดผลการดําเนินงานหลักตามแผนพัฒนาจังหวัดแบบบูรณาการเพื่อการพัฒนา พ.ศ. 2547 - 2549 กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดลพบุรี. กรุงเทพฯ : กระทรวงมหาดไทย
สุเนติลักษณ์ ยกเทพ, และยุภาพร ยุภาศ. (2559). รายงานการวิจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เทศบาลบ้านเดื่ออำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. หนองคาย
อรทัย ก๊กผล. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
อุดม ทุมโฆสิต. (2554). การปกครองท้องถิ่นสมัยใหม่: บทเรียนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว. กรุงเทพฯ : แซทโฟร์พริ้นติ้ง.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1980). Effective Behavior in Organizations. New York : Richard D. Irwin Inc.
David, F. R. (2007). Strategic management (11th ed. ). New Jersey : Prentice-Hall.
Dess, Gregory G. , & Miller Alex. (1993). Strategic Management. New York : Edles.
Glickman, C. D. , Gordon, S. P. , & Ross-Gordon, J. M. (2010). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach (8th ed. ). Boston MA: Allyn and Bacon.
Krejcie R. V. and Morgan D. W. ( 1970 ) “ Determining Sample Size for research Activities ” Educational and psychological Management. Vol. 80:p 608.
Northcraft, G. B. & Neale, M. A. (1990). Organizational Behavior. Chicago: The Dryden Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์