การพัฒนารูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวในประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

The Development of Reading Strategies Model (SQMRS) by using mixed media to learn stories in Prachuap Khiri Khan to develop reading comprehension for grade 6 students, Thai language learning subject group

ผู้แต่ง

  • ศริญดา เทียมหมอก ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลทับสะแก

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การอ่านจับใจความ, สื่อประสม

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม  ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์  เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์  เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 3 ห้อง จำนวน 83 คน โรงเรียนอนุบาลทับสะแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6/2 โรงเรียนอนุบาลทับสะแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  จำนวน 28 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย  ( gif.latex?\bar{x}) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการศึกษาพบว่า

  1. รูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ  83.03/82.95  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้  80/80
  2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์  เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลปรากฏว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 
  3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยรูปแบบกลวิธีการอ่าน (SQMRS) โดยใช้สื่อประสม ชุด เรียนรู้เรื่องราวประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพัฒนาการอ่านจับใจความกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.03 

References

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และวีรวัฒน์ อินทรพร. (2556). ภาษาเพื่อการสื่อสาร. นครปฐม : โครงการตำราและหนังสือ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิตารีย์ เกิดสมกาล. (2555). การศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญและเจตคติต่อวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช.

บันลือ พฤกษะวัน. (2557). แนวพัฒนาการอ่านเร็ว-คิดเป็น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พเยาว์ โพธิ์อ่อน. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2552). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

สาคร อัฒจักร. (2550). กระบวนการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีการเรียนการสอน. มหาสารคาม : ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Kruse, K. (2008). Introduction to Instructional Design and the ADDIE Model. [Online] Accessed 30 December . Available from http://www.elearningguru.com/ articles/art2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite