ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร และการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

The Effect of Active Learning Management Affecting Learning Achievement in the Learning Unit of Materials and Matters and Analytical Thinking of Prathomsuksa 4 students

ผู้แต่ง

  • สุภัทธิรา คงนาวัง, นฤมล ภูสิงห์ -

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, การคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)  หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพ  ตามเกณฑ์  80/80  2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน  หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active learning)  3) เปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านโคกล่าม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  จำนวน 13 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Dependent Samples t-test)

          ผลวิจัยพบว่า

  1. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 83.42/81.97 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

  3. การวัดการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:ครุสภาลาดพร้าว.

____________________. (2551). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุมสาระการเรียนรูวิทยาศาสตร (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สํานักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย.

กาญจนา เกียรติประวัติ. (2552). นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

กานต์รวี อาริยธนไพศาล. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย ท 22101 ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การเขียนเพื่อการสื่อสาร โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ ActiveLearning. กรุงเทพฯ: โรงเรียนดอนเมืองทหารอากาศบำรุง.

ปดรุณตรีย์ เหลากลม. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โมเมนตัมและการชน โดย ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ ศึกษา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2552). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). (Online) Availble: http://pirun.ku.ac.th สืบค้นเมื่อ วันที่ 27 สิงหาคม 2564

บัญญัติ ขำนาญกิจ. (2551). เอกสารประกอบการประชุม เรื่อง Active Learning. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ปรียานุช พรหมภาสิต (2559). คู่มือการจัดการเรียนรู้ “Active learning (AL) for HuSo at KPRU”. กําแพงเพชร: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยภัฏกําแพงเพชร.

ฝนทิพย์ พรมสอน. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีและการคิดอยางมี วิจารณญาณโดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (Active Learning) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการเรียนการสอน)

ฝนพรม พุทธนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. หลักสูตรและการนิเทศ แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พลวัชร สำเรียนรัมย์. (2564). การสังเคราะห์และพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ดนตรีตามแนวคิด การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์องค์ประกอบดนตรีสำหรับนักเรียนอายุ13-15 ปี. หลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคีตวิจัยและพัฒนา แผน ก แบบ ก 2 ระดับปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์.(2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธ ศรีบุญมี. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียน วิทยาศาสตร์ เรื่องแรงและชนิดของแรง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. หลักสูตร ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ลลิตา จำนงค์สุข. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีผลต่อแนวคิดวิทยาศาสตร์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สักทอง:วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2544). การสอนวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการ(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ ฯ : สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาการคิดและ ยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.

ศักดิ์ศรีปาณะกุล และคณะ. (2559). หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้(พ. 4 Ed.). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้น พื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/Login.aspx. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2564

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุนีย์ เหมะประสิทธิ์. (2543). ชุดกิจกรรมแบบ 4 MAT กับการพัฒนาศักยภาพนักเรียน. กรุงเทพฯ: วิชาการศึกษาศาสตร์.

Baldwin, william. (1998). Active learning : a Trainer’s Guide. England :Blackwell Education.

Fink. (1999 A). Active learning. [Online], Available: http://www.honolulu.hawaii.edu/intranet. Retrieved June 18, 2021.

Johonson et al. (1991). Cooperation in the classroom. American Psychological Association.

Moore. (1994). Secondary Instructional Method. New York : Wm. C. Brown Communication, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite