การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

The development of 7E Inquiry Learning Management cooperates with learning activity set affecting achievement of alteration lesson and psychology of Graed 5 Students.

ผู้แต่ง

  • ธีริศรา ลาสอน, นฤมล ภูสิงห์ -

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E), ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, จิตวิทยาศาสตร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (7E) หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองม่วงประชานุกูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 27 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (7E) หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินจิตวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติแบบสองกลุ่มที่สัมพันธ์กัน (Dependent Sample t-test)

           ผลการศึกษา พบว่า

  1. ชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 83.04/81.60 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
  3. จิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) หน่วยการเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สำนักคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัย

กุณฑรี เพร็ชทวีพรเดช. (2550). สุดยอดวิธีสอนวิทยาศาสตร์นำไปสู่...การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

จักรพันธ์ แซ่โค้วและคณะ. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ปีที่8, ฉบับที่:2 426.

จิรพงษ์ มณีกูล. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) เรื่อง ยีนและโครโมโซม รายวิชาชีววิทยา4 (ว30244) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวทิยาลยัราชภัฏชัยภูมิ.

ฐิติมาภรณ์ โชคสัมฤทธ์ผล. (2563). “การพัฒนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ (7E) ผสานสะเต็มศึกษา เสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ และการอ่าน การเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น ปีที่17, ฉบับที่:2 604.

ชยาภรณ์ รักพ่อ. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดย เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับลวดลายเวียงกาหลง. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นพมณี เชื้อวัชรินทร์. (2556). “จิตวิทยาศาสตรก์ับธรรมะทางพุทธศาสนา” วารสารศึกษาศาสตร์” ปีที่ 24, ฉบับที่:3 กันยายน – ธันวาคม.

มนมนัส สุดสิ้น. (2543). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถด้านคิดวิเคราะห์วิจารณ์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนมติ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2546). การประเมินจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐรินีย์ อภิวงศ์งาม. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ปริญญานิพนธ์ กศม. (การมัธยมศึกษา)กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ชั้น”, วารสารวิชาการ,10(4), 25-27 : ตุลาคม-ธันวาคม.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2550). การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้. อุตรดิตถ์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

รุ่งณภา แก้ววัน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสารและสมบัติของสารโดยใช้การเรียนรู้แบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E) สำหรับนักรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สาขาวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้, คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วริยา ร่มไทร. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องการสร้างเว็บเพจ ด้วยไมโครซอฟท์เวิร์ด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ภนิดา เพียงสอนดี. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ศิริพร ฤทธิ์มาก. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้ 7E เรื่องแรงและกฎการเคลื่อนที่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวชิาวทิยาศาสตร์ศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวทิยาลัยนเรศวร.

สิริลักษณ์ สาระชาติ. (2553). ปัจจัยบางประการทสี่่งผลต่อจิตวทิยาศาสตรข์องนักเรียนชั้น มัธยมศึกษา ปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบณัฑิต ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2542). การวัดจิตพิสัยของมนุษย์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2556). การจัดการเรียนรู)วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสารหน่วยวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. 4 (1), 55-63.

สุวธิดา ล้านสา. (2558). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะ หาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4”. ในวารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขา มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 9(2), 1134-1348.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-30

How to Cite