การเปรียบเทียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง หินในท้องถิ่น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมหัศจรรย์ของหิน กับการสอนแบบปกติ

A comparison of Science Learning Achievement, Local Stone Story of Prathom Suksa 6 Students between the Teaching with Books to enhance experience of Magical Set of Stones and the Normal Teaching

ผู้แต่ง

  • ชนนี ชุ่มชื่น, กรวิภา สรรพกิจจำนง นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

หนังสือเสริมประสบการณ์, ทางวิทยาศาสตร์, วิธีการสอนปกติ

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือเสริมประสบการณ์  เรื่อง  หินในท้องถิ่น  รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หินในท้องถิ่น รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างรับการสอนด้วยหนังสือเสริมประสบการณ์ กับการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนวัดโคนอน สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  จำนวน  30  คน  แล้วแบ่งนักเรียนเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลอง เป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมหัศจรรย์ของหิน  เรื่อง หินในท้องถิ่น รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 15 คน และกลุ่มควบคุม เป็นกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมหัศจรรย์ของหิน   เรื่อง หินในท้องถิ่น 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง หินในท้องถิ่น 3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หินในท้องถิ่น ที่มีความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.88 โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ Randomized Group, Pretest-Posttest Design  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Independent)

          ผลการศึกษาพบว่า

          1. หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมหัศจรรย์ของหิน เรื่อง หินในท้องถิ่น มีประสิทธิภาพ ผลที่ได้เท่ากับ 82.00/90.22

          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างการสอนโดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดมหัศจรรย์ของหิน เรื่อง หินในท้องถิ่น สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยใช้การสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับสมมติฐาน

References

ฌาณิกา ซึ้งสุนทร. 2559. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเพื่อสร้างเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยตาปี.

ทวีพร ดิษฐ์สำเริง. 2542. การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. สานปฏิรูป. 3: 28 สิงหาคม.

ธวัทชัย ฉิมกรด. 2549. การพัฒนาชุดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง หินและการเปลี่ยนแปลงสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

นพพร ธนะชัยขันธ์. 2552. สถิติเพื่อการวิจัย. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย: เชียงราย.

ลภัสรดา จารุสิทธิกุล. 2558. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาล้านนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านท่าช้าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุพรรณี ชาญประเสริฐ. 2556. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

สุพัตรา สัตยากูล. 2552. การพัฒนาชุดฝึกทักษะกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

สุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์ และคณะ. 2545. วิจัยและสถิติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite