ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, สมรรถนะหลัก, ปลัดเทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีตามการรับรู้ของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา 2) ระดับสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา และ 4) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 71 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา มีผู้ให้ข้อมูลจำนวน 4 ท่าน ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา, ปลัดเทศบาลตำบลเสิงสาง อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา, ปลัดเทศบาลเมืองสีคิ้ว อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา และปลัดเทศบาลตำบลโนนแดง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและสรุปข้อมูลเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีโดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ระดับสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3) ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีที่ส่งผลต่อสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกเทศมนตรีด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลร่วมกันพยากรณ์สมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา ได้ร้อยละ 31.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แนวทางการส่งเสริมสมรรถนะหลักของปลัดเทศบาลตำบลในจังหวัดนครราชสีมา พบว่า 1) ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ควรปรับวิธีการทำงานโดยแก้ไขปัญหาให้ตรงจุดและศึกษากฎหมายที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม 2) ด้านการยึดมั่นในความถูกต้อง ควรยึดหลักกฎหมายเป็นหลักและปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเสมอภาค 3) ด้านความเข้าใจในองค์กรและระบบงาน ควรมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด 4) ด้านการบริการเป็นเลิศ ควรหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการด้วยความเต็มใจ 5) ด้านการทำงานเป็นทีม ควรใช้ทักษะและความสามารถที่มีอยู่ร่วมกันปฏิบัติงานภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันที่ดี
References
กรมส่งเสริมการปกครอง. (2564). ข้อมูลจำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/work/abt/index.jsp [2564, 10 ธันวาคม]
กัญญาฏา พวงมะลิ. (2562). สมรรถนะในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์. 3(2), น. 47.
ชาติชัย อุดมกิจมงคล. (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนา. 12(8), น. 34-40.
ณัฐกานต์ ปิ่นเกสร และมะดาโอะ สุหลง. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารองค์การส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 9(1). น. 107.
ทิวาพร พรหมจอม. (2561). ประสิทธิผลการปฏิบัติตามสมรรถนะหลักของข้าราชการ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15(71), น. 97
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงทพฯ:
สุวีริยาสาส์น. สมพร วัชรภูษิต. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุราษฏร์ธานี. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(4), น. 415-432. [ออนไลน์
ปองใจ ปากเมย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิ์ผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา. 18(81), น. 103-112. [ออนไลน์].
วัชรพล โพธิ์พูนศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรสมรรถนะสูงขององค์กรรัฐวิสาหกิจ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 11(2), น. 57-68.
อัฉรพันธุ์ คงจันทร์. (2562). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 12(2), น. 107-114.
Bass, Bernard M. & Riggio, Ronald E. (2006). Transformational Leadership. (2nd ed). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์