เจตคติต่องานและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม
Attitudes on Work and Quality of Work Life Affecting the Performance Effectiveness of the Non-Commissioned Police Officers in Nakhon Pathom Province
คำสำคัญ:
เจตคติต่องาน, คุณภาพชีวิต, ประสิทธิผลของการปฏิบัติงานบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับเจตคติต่องาน คุณภาพชีวิตการทำงาน และประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม (2) วิเคราะห์เจตคติต่องานและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม (3) เสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม เป็นวิจัยแบบผสมวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม จำนวน 400 คน ใช้การสุ่มแบบง่าย สัมภาษณ์ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม จำนวน 18 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์สาระ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับเจตคติของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในขณะที่ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับคุณภาพชีวิตของการทำงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อการทำงานและปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดนครปฐม พบว่า ปัจจัยด้านความมีส่วนร่วมในงาน (X2) ปัจจัยด้านการบูรณาการทางสังคม (X8) และปัจจัยด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว (X10) สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรได้ร้อยละ 7.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.02
3. แนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน สังกัดตำรวจภูธร จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วย (1) สนับสนุนสวัสดิการด้านการปฏิบัติงาน ด้านค่ารักษาพยาบาล ด้านการศึกษาบุตร และด้านที่พักอาศัย ที่ (2) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ คุณสมบัติของข้าราชการให้สอดคล้องกับตำแหน่งงานในอนาคตจะช่วยให้บุคคลได้มีโอกาสก้าวหน้าในงานได้ (3) ปลูกฝังวัฒนธรรมการทำงานที่ดีร่วมกัน การสร้างสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในองค์กร ให้มีจุดเป้าหมายต่อวัตถุประสงค์ขององค์กรเป็นสำคัญ (4) ส่งเสริมการปฏิบัติงานที่เอื้อต่อการพัฒนาความสามารถระดับบุคคลซึ่งมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร
References
กิ่งพร ทองใบ (2559) .การพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงาน .ในเอกสารประกอบการอบรมการเสริมความรู้การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน.สาขาวิชาวิทยาการจัดการ:มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฏฉลดา รัตนคช. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรครูระดับประถม.
ปภาวีสุขมณี และฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์. (2554 ). ความรู้ความสามารถของนักบัญชีที่มีต่อประสิทธิผลการทำงานของนักบัญชีธุรกจิ SMEs ในจังหวัดกาฬสินธ์. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตกาฬสินธุ์.
มารวย วิชาญยุทธนากูล. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วชิรวชัร งามละม่อม. (2559). ทฤษฎีการมีส่วนร่วม. สถาบันวิชาการไทยวิจัยพัฒนาการจัดการ TRDM: ปทุมธานี.
วสิษฐ์ เดชกุญชร. (2551). จันทน์หอม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มติชน.
สีวลี ฉิมวาส. (2551). ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, วิทยาลัยดุสิตธานี
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York: Happer and Row.
Gibson, et al. (1979). Organizational Behavior Structure Process Behavior Dallas. Taxas: Business Publication, Inc.
Likert, Rensis. (1977). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed. New York.Harper and Row Publications.
Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What is it?.Slone Management Review, 15(1).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์