กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

Efficiency Academic Administration Strategies in Schools under the Jurisdiction of Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Offices

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์ -

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ, ที่มีประสิทธิภาพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ และ 3) ประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ได้สร้างขึ้นโดยประยุกต์แนวคิดกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการและทฤษฎีการวางแผนยุทธศาสตร์ ของ Boston Model ประชากรเป้าหมาย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ครูวิชาการ ศึกษานิเทศก์ จำนวน 60 คน, ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน และใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามการสนทนากลุ่ม และการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ค่าความเชื่อมั่น ของแบบสอบถามทั้งฉบับ .87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ คือ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า

          1) กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ มี 6 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษา (2) กลยุทธ์พัฒนาการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพนักเรียน (3) กลยุทธ์พัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาและสภาพแวดล้อม (4) การส่งเสริมการนิเทศการศึกษาพัฒนาวิชาการ (5) กลยุทธ์พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และ (6) กลยุทธ์ประเมินผลพัฒนาวิชาการ

          2) การพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ พบว่า กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา มีความเป็นประโยชน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก

          3) ผลการประเมินกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิภาพ พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมาก

References

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น,

ปาริฉัตร โชติขันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ผ่องพรรณ ปิ่นตาแสน. (2558). กลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล กลุ่มจังหวัดการศึกษาท้องถิ่นที่ 15. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ยุพา อัดโดดดร. (2554). กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน. สาขาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2551). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา : นำศิลป์โฆษณา.

สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สมยศ นาวีการ. (2544). ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา (2563). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561-2564. พระนครศรีอยุธยา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 พ.ศ.2550 – 2554. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2560). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite