กฎหมายกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย

The Laws has about something come to which the senator of Thailand

ผู้แต่ง

  • นิมิต วุฒิอินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาควิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สมาชิกวุฒิสภา, การเลือกตั้ง, การได้มา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากฎหมายกับการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทย ในส่วนที่จะทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศ ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย และเป็นแนวทางในการเสนอแนะแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งวุฒิสภาของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ 

          ผลการวิจัยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาของประเทศไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาทำให้สมาชิกวุฒิสภาที่ได้มานั้นไม่สามารถเข้าใจความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐฝรั่งเศส หรือประเทศญี่ปุ่น การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งจากประชาชน

          ข้อเสนอแนะว่า (1) ให้มีการเลือกตั้งโดยตรงกำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดละ 2 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ทั้งประเทศ 152 คน เป็นตัวแทนของแต่ละจังหวัดการเลือกตั้งโดยตรงระบบเดียวกันกับของประเทศสหรัฐอเมริกา (2) กำหนดคุณวุฒิผู้รับสมัครไม่ต่ำกว่าปริญญาเอกด้านกฎหมาย เนื่องจากอำนาจหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภามีหน้าที่หลักในการกลั่นกรองกฎหมายที่สภาผู้แทนราษฎรเสนอเข้าสภา จึงจำเป็นต้องให้ผู้มีความรู้ความสามารด้านกฎหมายมาทำหน้าที่กลั่นกรอง (3) ผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาจะต้องไม่เกี่ยวข้องอย่างหนึ่งอย่างใดกับพรรคการเมือง หรือเครือญาติฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดของนักการเมือง เพื่อป้องกันการมีส่วนได้เสียในการกลั่นกรองกฎหมาย

References

กระมล ทองธรรมชาติ. (2525). การเมืองการปกครองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

กระมล ทองธรรมชาติ.(2541). การก่อตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง: การศึกษาเปรียบเทียบกรณีอินเดียและฟิลิปปินส์ เพื่อเป็นแนวทางสำหรับไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

โกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์. (2518). ความเป็นมาของการปกครองในระบบรัฐสภา และระบบรัฐสภาในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : : ห้างหุ้นส่วนจำกัด แพร่พิทยา อินเตอร์เนชั่นแนล,กรุงเทพฯ.

โกสินทร์ วงศ์สุรวัฒน์.(2543). พื้นฐานรัฐศาสตร์กับการเมืองในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โกวิทย์ พวงงาม. (2549).ปฏิรูปการเมือง ปฏิรูปสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) : ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร : บริษัทมิสเตอร์ก๊อปปี้จำกัด, ๒๕๔๙.

คณิน บุญสุวรรณ. (2542). คู่มืออ่านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่:โครงสร้างและหลักการรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร : อัมรินทร์วิชาการ.

คณิน บุญสุวรรณ. (2551). ทางออกประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

จุมพล หนิมพานิช บรรณาธิการ. หลักพื้นฐานทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จรูญ สุภาพ. หลักรัฐศาสตร์ ฉบับพิสดาร แนวทฤษฎีและประยุกต์.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

จรูญ สุภาพ และคณะ. (2523). การเมืองการปกครองยุโรป อังกฤษ ฝรั่งเศส เบเนลักซ์. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช.

จุฑารัตน์ บางยี่ขัน. (2536). การเมืองสหรัฐอเมริกา อังกฤษและฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิติล คุ้มครอง. (2540). พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนในกรอบรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ : ศึกษากรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite