กฎหมายกับปัญหาในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

กฎหมายกับปัญหาในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • นิมิต วุฒิอินทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ภาควิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การบริหารงานบุคคล , ท้องถิ่น, พระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และศึกษาถึงสภาพปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ในการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นด้วยตนเองที่เหมาะสม และแนวทางการพัฒนาการบริหารส่วนบุคคลส่วนท้องถิ่น โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานส่วนบุคคลส่วนท้องถิ่น เพื่อให้ได้ข้อมูลในเชิงลึกและในภาพกว้างเพื่อหาสาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการศึกษาและสังเคราะห์เพื่อหาข้อสรุปและแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

          ปัญหาของการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ภายใต้พระราชบัญญัติบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โดยผู้บริหารส่วนท้องถิ่นมีอิสระและอำนาจในการบริหารงานบุคคลมาก ส่งผลให้อำนาจในกระบวนการบริหารงานบุคคลตั้งแต่การสรรหา การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย จนถึงการให้ความดีความชอบนั้นไปอยู่ที่บุคคลเดียว คือ ผู้บริหารท้องถิ่น ทำให้สามารถใช้อำนาจตามอำเภอใจ ส่งผลให้ท้องถิ่นได้บุคคลที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งกระทบต่อคุณภาพของการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การบังคับใช้กฎหมายบริหารงานบุคคลนั้นมีผลใช้บังคับแต่เพียงฝ่ายข้าราชการเท่านั้น ไม่ได้บังคับใช้กับฝ่ายการเมือง เช่น ในกรณีที่ข้าราชการใช้อำนาจมิชอบจะถูกตั้งคณะกรรมการสอบวินัยและโดนปลดออกจากตำแหน่งได้ แต่กรณีที่ผู้บริหารใช้อำนาจมิชอบกลับไม่มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบหรือปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากอ้างที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ตามหลักปกครองตนเอง ทำให้เกิดการใช้อำนาจที่มิชอบ กระบวนการการบริหารงานท้องถิ่นมีความซับซ้อน ล่าช้า และไม่สามารถจูงใจให้พนักงานหรือข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในท้องถิ่นได้ ทำให้ข้าราชการท้องถิ่นเหมือนข้าราชการระดับชั้นสองรวมถึงการปิดกั้นความก้าวหน้าของบุคลากรเองด้วยการกำหนดคุณสมบัติประจำของคนที่จะมาเป็นปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าต้องมีคุณวุฒิศึกษาทางรัฐศาสตร์หรือนิติศาสตร์เท่านั้น และยังไม่มีระบบเกื้อหนุนให้บุคลากรของท้องถิ่นโอนย้ายไปสู่ส่วนภูมิภาคหรือส่วนกลาง และความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ขององค์กรซ้ำไม่มีความชัดเจนทั่วไปสู่ความสับสนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งขาดความเป็นเอกภาพไม่มีมาตรฐานไม่สอดคล้องกันในการโอนย้ายของพนักงานส่วนท้องถิ่น รวมถึงคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานส่วนท้องถิ่นถูกครอบงำโดยกระทรวงมหาดไทย ทำให้มีความล่าช้าไม่มีอิสระในการบริหารงานของท้องถิ่นเอง และประการสุดท้ายปัญหาเรื่องระบบอุปถัมภ์แทรกซึมในทุกกระบวนการของการบริหารงานบุคคลท้องถิ่น การใช้อำนาจอิทธิพลส่งผลต่อคุณภาพของบุคลากรท้องถิ่นอย่างมาก

References

เกรียงไกร เจริญธนวัฒน์.(2555).หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1, มีนาคม 2555, หน้า 77, 84, 88 อำนาจอธิปไตย 90, 94 , 95 หลักแบ่งแยกอำนาจ

เกรียงไกร เจริญธนวัฒน์.(2555). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชนว่าด้วยรัฐ รัฐธรรมนูญ กฎหมาย. พิมพ์ครั้งที่ 6, 2555 สำนักพิมพ์วิญญูชน หน้า 235 – 247 หลักอำนาจอธิปไตย และหน้า 261 – 270 หลักแบ่งแยกอำนาจ

ไกรยุทธ ธีรตยาดีนันท์.(2531) .แนวพระราชดำริด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : สถาบันไทยคดีศึกษาและฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โกวิทย์ พวงงาม.(2550). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน,

โกวิทย์ พวงงาม. (2554).การปกครองท้องถิ่นไทย หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด, หน้า 104.

จิระ หงส์ลดารมภ์.(2535). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1 – 6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,

จุฑามาศ ทวีไพบูลย์ และ สุวรรณา เทพจิต.(2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์.

ชาญชัย แสวงศักดิ์.(2519). คำอธิบายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 19 พ.ย. 2555 หน้า 50 – 52, 75 – 77

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง.(2519). การบริหารงานบุคคลในภาครัฐกิจ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ชำนาญ ปิยวนิชพงษ์.(2555). กรอบความคิดสำหรับการจัดการทรัพยากรมนุษย์

เชาว์ โรจนแสง.(2544). แนวคิดของการจัดการทรัพยากรมนุษย์. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 8 – 16). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช

ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ และ ผศ.สิทธิกร ศักดิ์แสง. (2544)., หลักกฎหมายมหาชน ครั้งที่ 1, 2554 สำนักพิมพ์นิติธรรม เรื่องรัฐ และอำนาจอธิปไตยภายในภายนอก หน้า 129 สิทธิเสรีภาพ 201 บริการสาธารณะ 186 – 187.

ดนัย เทียนพุฒ.(2537). กลยุทธ์การพัฒนาคน : สิ่งท้าทายความสำเร็จของธุรกิจ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite