การพัฒนาคู่มือผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็กปฐมวัย ในสถานการณ์ COVID-19
Development of Parent Handbook for Promoting Early Childhood Resilience during COVID-19 Pandemic
คำสำคัญ:
คู่มือผู้ปกครอง, ความเข้มแข็งทางจิตใจ, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็กปฐมวัยในสถานการณ์COVID-19 2) ประเมินความรู้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็กปฐมวัย และความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อคู่มือผู้ปกครอง โดยการผสานวิธีเชิงคุณภาพและ เชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเจาะจงเลือกจากผู้ปกครองที่ดูแลเด็กปฐมวัยอายุ 4-8 ปี จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 1) คู่มือผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กปฐมวัย 2) แบบประเมินคู่มือ วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) ค่าความถี่ 2) ค่าเฉลี่ยประชากร 3) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร 4) ค่าร้อยละ และ 5) การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. คู่มือผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย (1) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความเข้มแข็งทางจิตใจในบริบทของเด็กปฐมวัย (2) การสื่อสารระหว่างผู้ปกครองกับ เด็กปฐมวัย (3) การจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน (4) กิจกรรมส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจ
2. ผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจแก่เด็กปฐมวัยอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 76.89) และความพึงพอใจต่อคู่มือผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.64, S.D.=0.50)
References
กรมสุขภาพจิต. (2563). คู่มือสร้างสรรค์พลังใจให้วัยทีน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสซิ่ง. 77.
ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2563). มาตรการการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 6(2), 467-485.
พัฒนา พรหมณี ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.). 26(1), 62-69.
อาสยา อภิชนางกูร. (2564). Resilience ยืนหยัดได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง. 45.
Ahlert, I. A., and Greeff, A. P. (2012). Resilience factors associated with adaptation in families with deaf and hard of hearing children. American Annals of the Deaf. 157, 391-404.
O'Brien et al. (2009). Couples coping with stress. European Psychologist. 14: 18-28.
Shonkoff, J. (2017). Building the Skills of Parents Experiencing Adversity. (Online). Available : https://youtu.be/m5bIN5fPZRM, 14 April 2021.
Verger, N. B. et al. (2021). Coping in isolation: Predictors of individual and household risks and resilience against the COVID-19 pandemic. Social Sciences and Humanities Open. 3(1), 100-123.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์