กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา ชุมชนบ้านรางพลับ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • กันตพงศ์ สินอาภา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ปาจารีย์ ซิบังเกิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วันทนา ฮึกหาญสู้ศัตรู มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศศิวัลย์ พูลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ระวี จูฑศฤงค์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน, การจัดการขยะอย่างยั่งยืน, ชุมชนบ้านรางพลับ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน โดยใช้ปรากฎการณ์เชิงบรรยายทางสังคม มุ่งทำความเข้าใจและหากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน การเก็บข้อมูลใช้การแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มและการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและการตรวจสอบความถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านข้อมูล ด้านผู้วิจัยและด้านวิธีการ จากกรณีศึกษาชุมชนบ้านรางพลับหมู่ที่ 1 อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี คัดเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลักรวมทั้งสิ้น 16 คน ประกอบด้วยผู้นำชุมชน จำนวน 2 คน แกนนำชุมชน จำนวน 8 คน เยาวชน จำนวน 4 คน สมาชิกภายในชุมชน จำนวน 2 คน

ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการจัดการขยะอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน โดยลำดับขั้นกระบวนการเรียนรู้เริ่มต้นจาก ขั้นที่ 1) ขั้นการรับรู้ถึงปัญหา ขั้นที่ 2) ขั้นระดมความคิดเห็นต่อปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นขั้นร่วมกันคิดและหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน นำไปสู่ขั้นที่ 3) ขั้นร่วมกันในการแก้ไขปัญหา เกิดการเรียนรู้และปฏิบัติ แต่เมื่อลองปฏิบัติแล้วยังไม่เกิดผลสำเร็จจึงนำไปสู่ขั้นต่อไป ขั้นที่ 4) ขั้นเข้าใจ และประยุกต์ความรู้ เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทของชุมชนแล้วลองปฏิบัติจนเกิดผลสำเร็จ และนำไปสู่ขั้นที่ 5) ขั้นถ่ายทอดความรู้เพื่อความยั่งยืน เป็นการปฏิบัติจนเกิดความมั่นใจว่ามีศักยภาพแล้วเกิดผลสำเร็จ จากนั้นจึงเกิดการถ่ายทอดพร้อมด้วยกับการแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนอื่น เมื่อมีการแลกเปลี่ยนความรู้ส่งผลให้ชุมชนได้รับความรู้ใหม่ๆ เสมอ ชุมชนมีความพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง เกิดความเข้าใจจึงรู้จักนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้จึงย้อนกลับไปสู่ขั้นที่ 4 ขั้นเข้าใจและปรับประยุกต์ใช้ ซึ่งจะเป็นกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนที่มีความต่อเนื่องและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่อยู่เสมอ ลำดับขั้นกระบวนการเรียนรู้ยังสามารถย้อนกลับไปขั้นการรับรู้ถึงปัญหาได้เสมอ เมื่อชุมชนเกิดมีปัญหาใหม่ขึ้นมา หรือมีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น จากสถานการณ์การแพร่โรคระบาดโควิด-19 หรือจากการคาดว่าอาจจะเกิดปัญหาเรื่องของการทิ้งขยะซ้ำเดิม กระบวนการเรียนรู้จะสามารถทำให้แก้ไขปัญหาและจัดการขยะได้อย่างยั่งยืนต่อไปได้

Author Biographies

ศุภกร ลิ้มคุณธรรมโม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

กันตพงศ์ สินอาภา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ปาจารีย์ ซิบังเกิด, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

วันทนา ฮึกหาญสู้ศัตรู, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ศศิวัลย์ พูลสวัสดิ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

นิสิตปริญญาเอก สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ระวี จูฑศฤงค์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.) อาจารย์ประจำสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2565). ข้อมูลสถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศ. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://thaimsw.pcd.go.th/report_country.php (2565,13 กุมภาพันธ์)

______. (2565). คพ.เผยปี 2564 ขยะมูลฝอยลดลง ขยะติดเชื้อ-ขยะอันตรายเพิ่มขึ้น. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.pcd.go.th/pcd_news/20802/ (2565,13 กุมภาพันธ์)

โกวิทย์ พวงงาม. 2562. การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: ธรรมสาร.

พลเดช ปิ่นประทีป. 2556. “การสร้างและบริหารเครือข่ายในยุคปัจจุบัน.” สถาบันพัฒนาประชาสังคม.

วิจารย์ สิมาฉายา. (2563). ขยะพลาสติกพุ่งกว่า 60% ในช่วงโควิด-19. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.tei.or.th/th/blog_detail.php?blog_id=51 (2565,13 กุมภาพันธ์)

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 3 จังหวัดนครปฐม. 2556. รายงานการวิจัยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมให้กับกลุ่มเป้าหมายในชุมชนเพื่อรองรับผลกระทบจากประชาคมอาเซียน.

สุภางค์ จันทวานิช. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite