การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ และการคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

The Development of Project-Based Learning Management For Learning Achievement in the Learning Unit of Phenomenon of Earth and Space Technology and Creative Thinking of Prathomsuksa 6 Students.

ผู้แต่ง

  • อุไรรัตน์ เจนดง, นฤมล ภูสิงห์ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

คำสำคัญ:

การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน, การคิดสร้างสรรค์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (3) เปรียบเทียบการคิดสร้างสรรค์ ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองแวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดการคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t – test แบบ Dependent samples

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ 82.86/80.35 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

            2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ.05

            3) การคิดสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้ ปรากฏการณ์ของโลกและเทคโนโลยีอวกาศ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุด ความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน : จากประสบการณ์ ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดทิพย์วิสุทธิ์.

นุรไอนี ดือรามะ. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานร่วมกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน (Project-based Learning). กรุงเทพมหานคร : MA Education.

ปรีชา ปาโนรัมย์. (2560). การวิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้จากผลงานวิจัย.การวิเคราะห์ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงและการประยุกต์ใช้จากผลงานวิจัย. วารสารสหวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.

ภานุวัฒน์ พันชนกกูล. (2561). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และการคิดสร้างสรรค์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม : ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

มนตรี ล้ำเลิศ. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน รายวิชาทัศนศิลป์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

เมธาวี โสรเนตร. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนคอมพิวเตอร์และความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ศึกษามหาบัณฑิต. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

โรงเรียนบ้านหนองแวง. (2563) รายงานการประเมินตนเองโรงเรียนบ้านหนองแวง ปีการศึกษา 2563. ชัยภูมิ : โรงเรียนบ้านหนองแวง.

ลัดดา ภู่เกียรติ. (2552). การสอนแบบโครงงานและการสอนแบบใช้วิจัยเป็นฐาน : งานที่ครูประถมทำได้. กรุงเทพมหานคร : สาฮะแอนด์ซัน พริ้นติ้ง.

วันเพ็ญ พิเสฎฐศลาศัย และคณะ. (2557). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเสริมด้วยแผนผังความคิดต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2554). จากหลักสูตรแกนกลางสู่หลักสูตรสถานศึกษา กระบวนทัศน์ใหม่การพัฒนา. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ลักษณ์.

สุทธิดา วงศามิ่ง. (2559). การสร้างแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite