การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี

Operations by the Good Governance Principles of Local Government Organizations Affecting the Life Quality of People in Nonthaburi Province

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ บุญเกษม Nakhonratchasima college

คำสำคัญ:

การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, คุณภาพชีวิตของประชาชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี (2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรี เป็นวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ประชากรคือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม และกลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 25 คน และเครื่องมือการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์สาระ ผลการวิจัยพบว่า
          1. การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ หลักความเสมอภาค หลักประสิทธิผล หลักคุณธรรมจริยธรรม หลักประสิทธิภาพ หลักการกระจายอำนาจ หลักความโปร่งใส หลักรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ หลักการตอบสนอง หลักนิติธรรม และหลักการมีส่วนร่วม ตามลำดับ
          2. คุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม รองลงมา ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านร่างกาย ตามลำดับ
          3. การดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า ด้านหลักรับผิดชอบสามารถตรวจสอบได้ และด้านหลักนิติธรรม ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนนทบุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบกระบวนการทำงานของท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน อันจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนเพื่อรองรับการขับเคลื่อนในการพัฒนาประเทศต่อไป

References

กมลพรรณ พึ่งด้วง. (2560). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิตติ์รวี เลขะกุล. (2561). ธรรมาภิบาล วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย. วิดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กุลวัชร หงส์คู. (2553). ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษา เทศบาลนครสมุทรสาคร. หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง รุ่นที่ 1 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

จักรพงษ์ เกเย็น. (2554). คุณภาพชีวิตผู้อยู่อาศัยในชุมชนของการเคหะแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร ศึกษากรณี โครงการเคหะชุมชนทุ่งสองห้อง อาคารแฟลตเช่า. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฐวัฒน์ ขันโท. (2557). คุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่หน่วยบริการชุมชน คลินิกศูนย์แพทย์พัฒนา. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2547). การประเมินผลการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในบริบทของการกระจายอำนาจและการจัดทำกรณีศึกษาจากประสบการณ์ที่ได้รับ กรณีศึกษา เครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำแม่ปิงตอนบน องค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านปัตตานี สภาพัฒนาหมู่บ้านหนองโก. (พิมพ์ครั้งที่ 1) นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

ธงเทพ สรรธนสมบัติ. (2559). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลปางปะกงอำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. ปริญญานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิชาภา เชยะสิทธิ์ และคณะ. (2561). องค์ประกอบการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

ปรางทิพย์ ภักดีศรีไพรวัลย์. (2559). การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. ปริญญานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์พิพัฒน์ นารินรักษ์. (2563). ปัจจัยการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 8 (32). 168-181.

พลวัฒน์ วิไลชื่นผล และ รัฐบุรุษ คุ้มทรัพย์. (2563). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลสำนักขาม อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.

วุฒิสาร ตันไชย. (2544). การกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2560). หลักธรรมาภิบาลของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุรศักดิ์ โตประสี. (2553). ธรรมาภิบาลในการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล. ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อนรรฆ อิสเฮาะ. (2561). คุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลสะกอม อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

WHOQOL Group. (1996). What Quality of Life? World Health Organization Quality of Life Assessment World Health Forum. 17, 354-356.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite