ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้ออาคารชุด ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานคร
Marketing Mix Factors Affecting Consumer’s decision to Purchase Condominiums in Bangkok
คำสำคัญ:
ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, อาคารชุด , กรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมการตลาดอาคารชุดของลูกค้าในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดอาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaire) โดยใช้วิธีการสำรวจแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) เพื่ออธิบายข้อมูลเชิงประชากรศาสตร์ข้องผู้ตอบแบบสอบถามและตัวแปรต่าง ๆ และสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) คือ t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test, (One-way ANOVA), Pearson Product Moment Correlation และ Multiple Regression Analysis ใช้สำหรับการทดสอบสมมติฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ลูกค้าที่เคยซื้อหรือซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 384 คน
ผลการศึกษาพบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 36-46 ปี ซึ่งส่วนใหญ่แต่งงานแล้ว มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว 3 คน มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,001-40,000 บาท และส่วนใหญ่ศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุดในเขตกรุงเทพมหานครพบว่า มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้ออาคารชุด ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญสูงสุด คือ ด้านราคา รองลงมา คือ ด้านลักษณะรูปแบบการก่อสร้าง
References
กิตติพงศ์ วงศ์ฟู. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กิ่งกมล เกตุกิ่ง จินตนา สิงห์ทอง และวาสนา ทรรศนีย์กุล. (2551). การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยของผู้ที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ขวัญชัย อรรถวิภานนท์. (2535). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อบ้านจัดสรรในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. (วิทยาศาสตร์). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชาว์ เพ็ชรราช และจิรวรรณ ทรัพยเจริญ. (2556). ประชากรมนุษย์ [online] Available . สืบค้นจาก http://human.uru.ac.th/Major_online/SOC/Envi_Home.htm 2556.
ชัชวาล เรืองประพันธ์. (2539). สถิติพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ชัชรัช เย็นบำรุง. (2546). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการซื้อห้องชุดพักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลของผู้บริโภค : กรณีศึกษาห้องชุดพักอาศัยในครอบครองของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันทิยา ธนพงศ์ประเสริฐและคณะ. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในแนวเส้นทางการเดินรถไฟฟ้าใต้ดินในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชฎัจันทรเกษม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่2). กรุงเทพฯซ สุรีวิยาสาส์น
พิษณุ จงสถิตวัฒนา. (2544). การบริหารการตลาด การวิเคราะห์ กลยุทธ์ และการตัดสินใจ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ยศธนาตย์ ธนภัทรวรธันย์. (2544). ปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนธนบุรี กรุงเทพมหานคร. ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
วริพัทธ์ ขันพล (2556). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรพรรณ ประนอมเชย. (2553). การตัดสินใจซื้อบ้านที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านเอื้ออาทรในเขต จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
วงศ์พัฒนา ศรีประเสริฐ. (2552). เอกสารการสอนชุดวิชากลยุทธ์การบริหารจัดการ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฎสารคาม.
วุฒ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : บริษัท จี พี ไซเบอร์พริ้นท์ จำกัด.
วันธิดา สุขสันต์. (2552). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคนมกล่องของนักเรียนนักศึกษาในเขตเทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4).กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2546). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.
_______. (2550). องค์การการจัดการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร.
ศุภร เสรีรัตน์. (2544). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : เอ อาร์. บิซิเนสเพรส.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). แบบสำรวจการศึกษาถึงทิศทางของตลาดและความต้องการที่อยู่อาศัยในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปี 2556-2558.
สาวิตร โกมาสถิต. (2549) การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.
สุพิชฌาย์ ธนอัจฉรานันท์. (2553). ส่วนประสมทางการตลาดที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมในเขตประเวศ กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญา บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2557. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559). สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. กรุงเทพฯ.
อุษณี ทอย (2542). การวิเคราะห์อุปสงค์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
อมอร วงษ์ศิริ (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมเป็นที่อยู่อาศัยของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร หลังวิกฤติเศรษฐกิจ (2539-2545). สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood cliffs, New Jersey: Prentice Hall, Inc; 1977.
Engel, F. J., Blackwell, D.R., & Miniard, W.P. (1993). Consumer Behavior. (6th ed.). Hinsdale: The Dryden Press.
Peter J. Paul and Olsen Jerry C. 1990. Consumer Behavior and Marketing Strategy. 2nd ed. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์