การศึกษาผลการวิเคราะห์และการเขียนบทคัดย่องานวิจัย โดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญ ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
The Study of the Results of Analysis and Writing of Research Abstract Using 6 Key Questions Technique for Graduate Students
คำสำคัญ:
เทคนิค 6 คำถามสำคัญ , การวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัย , การเขียนบทคัดย่องานวิจัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัยโดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญ (2) ศึกษาผลการเขียนบทคัดย่องานวิจัยโดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกวิเคราะห์และแบบฝึกเขียนบทคัดย่องานวิจัยโดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญ เป็นการวิจัยเชิงทดลองพื้นฐานแบบกลุ่มเดียววัดหลังการทดลอง กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน ที่ศึกษาแบบวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เอกสารความรู้เรื่องบทคัดย่องานวิจัย 2) แบบฝึกวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัย 3) แบบบันทึกการตรวจแบบฝึกวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัย 4) แบบฝึกเขียนบทคัดย่องานวิจัย 5) แบบบันทึกการตรวจแบบฝึกเขียนบทคัดย่องานวิจัย 6) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 7) แผนการจัดการเรียนรู้บทคัดย่องานวิจัย และ 8) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์บทคัดย่องานวิจัยโดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญโดยภาพรวม นักศึกษาร้อยละ 100 ได้คะแนนร้อยละ 92 ของคะแนนเต็ม
2. ผลการเขียนบทคัดย่องานวิจัยโดยใช้เทคนิค 6 คำถามสำคัญ โดยภาพรวม นักศึกษาร้อยละ 100 ได้คะแนนร้อยละ 87 ของคะแนนเต็ม
3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกวิเคราะห์และแบบฝึกเขียนบทคัดย่องานวิจัยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยทั้ง 3 ข้อ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
References
คงศักดิ์ สังฆมานนท์. (2563). “การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนฐานโครงงานสร้างสรรค์ในวิทยาลัยนครราชสีมา”. ตีพิมพ์ใน วารสารการประชุมทางวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 7 วิทยาลัยนครราชสีมา. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2563. หน้า 557-567.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ม.ป.พ.). แบบประเมินบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. (ออนไลน์). สืบค้นจาก :
http://www.curriculumandlearning.com (17 มีนาคม 2562).
มารุต พัฒผล. (2560). แบบประเมินรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ (ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา). (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.curriculumandlearning.com (19 มีนาคม 2562).
รุ่งกานต์ ใจวงศ์ยะ. (2558). การเขียนบทคัดย่อ. (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://erp.mju.ac.th (13 มีนาคม 2562).
วิทยาลัยนครราชสีมา. (2558). คู่มือการจัดทำวิทยานิพนธ์ (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2). บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยนครราชสีมา.
สมภพ สุทัศน์วิริยะ. (ม.ป.พ.). หลักการเขียนบทคัดย่อ (Abstract). (ออนไลน์). สืบค้นจาก : https://hpc8.anamai.moph.go.th (12 มีนาคม 2562).
สิระ สมนาม. (2550). “การเขียนบทคัดย่องานวิจัยอย่างมืออาชีพ”. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 1(1), (มิถุนายน 2550 - พฤศจิกายน 2550). 36-38.
Nanthapak Meekham. (2020). บทคัดย่อ (Abstract). (ออนไลน์). สืบค้นจาก : http://www.xn--12co8bkb4ccba6b3geffwj63b.com (11 มีนาคม 2562).
http://www.anantasook.com/abstract-research-writing-technique. (2014). การเขียนบทคัดย่อ ตัวอย่างบทคัดย่องานวิจัยที่ดี บทคัดย่อเชิงคุณภาพ. (14 มีนาคม 2562).
http://eng.kbu.ac.th/home/km/pdf/2558/KM_Abstract. (2558). การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) งานวิจัยอย่างไรให้ครอบคลุม. (12 มีนาคม 2562).
_______. (2558). องค์ความรู้ เทคนิคการเขียนบทคัดย่องานวิจัยที่ดี. (12 มีนาคม 2562).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์