สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะการสังเกต

How to teach Preschool Children to develop Observation Skills

ผู้แต่ง

  • กมลชนก สุจริต, กชกร หวังเติมกลาง -

คำสำคัญ:

การสอน , เด็กปฐมวัย , ทักษะการสังเกต

บทคัดย่อ

          การสอนที่มุ่งสร้างเสริมความสามารถในการสังเกตเป็นเรื่องสำคัญที่ควรเริ่มตั้งแต่ช่วงปฐมวัยเนื่องจากเป็นช่วงวัยที่สมองกำลังพัฒนาเต็มที่และธรรมชาติของวัยที่ช่างสังเกต ชอบสำรวจ ช่างซักช่างถาม และอยากรู้อยากเห็น การพัฒนาการสังเกตให้แก่เด็กปฐมวัยช่วยให้เด็กสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน และอีกยังเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมและมีเหตุผล ทั้งยังเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้และการสังเกตในระดับที่สูงขึ้น การสอนที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีประสบการณ์ตรง ลงมือกระทำด้วยตนเองทั้งกิจกรรมการเล่น กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สามารถช่วยสร้างเสริมและพัฒนาการสังเกตให้แก่เด็กปฐมวัยได้โดยครูและผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กต้องให้ความสำคัญกับการสอนที่เหมาะสมกับวัยให้เวลาเด็กได้ใช้ความคิดอย่างอิสระ เปิดโอกาสให้เด็กได้สนุกกับการใช้ความคิดที่อาจเป็นการสังเกตคนเดียวหรือคิดร่วมกับเพื่อน และสร้างสภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้ตามสถานการณ์ มีสื่อ อุปกรณ์ที่พอเพียงและหลากหลาย และสภาพแวดล้อมทางจิตภาพที่ทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่น ไม่กดดัน มีอิสระที่จะคิดสร้างสรรค์ และทบทวนความรู้ ความจำ เพื่อนำมาผสมผสานสร้างเป็นความรู้และความคิดที่ทำให้เกิดทักษะการสังเกตชองเด็กเกิดขึ้น

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2556). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันโปรดักส์.

ชุติมา วัฒนาคีรี. (2556). กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

ประสาท เนืองเฉลิม. (2557). ของเล่นกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. วารสารวิชาการ. 6(3), 70 – 72.

ประภาพรรณ สุวรรณศุข. (2556). การจัดการประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตระดับปฐมวัยศึกษา หน่วยที่ 8.นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภพ เลาหะไพบูลย์. (2557). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2555). เด็กกับการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา การเล่นและเครื่องเล่น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุพา วีระไวทยะ และปรีชา นพคุณ. (2559). การสอนวิทยาศาสตร์แบบมืออาชีพ. กรุงเทพฯ :มูลนิธิสดศรี - สฤษดิ์วงศ์.

ยุพา วีระไวทยะ. (2557). เอกสารอ่านประกอบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ :ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2557). กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : แม็ค.

รัจนา เรียบเรียง. (2556). เลี้ยงลูกให้เป็นอัจฉริยะและมีความสุข. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี :โอเอ็นจี.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2559). การวัดผลและประเมินผลแนวใหม่ : เด็กปฐมวัย ฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด. กรุงเทพฯ : ยูแพดอินเตอร์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). แนวทางจัดการเรียนวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

สรศักดิ์ แพรคา. (2556). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์. อุบลราชธานี : ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

หรรษา นิลวิเชียร. (2555). ปฐมวัยศึกษา หลักสูตรและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้งเฮ้าส์.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์แบบปฏิบัติการทดลองกับแบบผสมผสานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒประสานมิตร.

เอราวรรณ ศรีจักร. (2558). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite