แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กร ของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

Work Motivation that Affects the Loyalty to the Organization of Academic Personnel at Rajamangala University of Technology Isan

ผู้แต่ง

  • ธนพร การชงัด, ปฏิมา ถนิมกาญจน์ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ ความจงรักภักดี บุคลากร มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 288 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการทำงานส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายวิชาการคือ ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความต้องการความผูกพันและด้านความต้องการอำนาจ การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ พบว่า แรงจูงใจในการทำงาน ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านความต้องการความผูกพันและด้านความต้องการอำนาจ ส่งผลทางบวกต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถร่วมกันกำหนดทำนายแรงจูงใจในการทำงานได้ร้อยละ 59.50 (AdjR2 = 0.595)

References

กรองกาญจน์ ทองสุข. (2554). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของบุคลากรในวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

กานดา ศรีจันทร์. (2557). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจที่มีต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานบริษัท เคอรี่ (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชัชพร มานะกิจ. (2560). แรงจูงใจที่มีผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์การของพนักงานธุรกิจค้าปลีกสินค้าอุปโภคและบริโภคในรูปแบบซูปเปอร์มาร์เก็ต. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2548). การจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ยูเคชั่น.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยู แอนด์ ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.

ปิติวัตติ์ ปิติพรภูวพัฒน์. (2560). แรงจูงใจที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของพนักงานในเครือบริษัทไทยรัฐออนไลน์และไทยรัฐทีวี. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาเอกการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พรนิภา ชาติวิเศษ. (2557). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

Hoy, W. K., & Rees, R. (1974). Subordinate loyalty to immediate superior: A neglected concept in the study of educational administration. Sociology of Education, 47, 274-275.

McClelland, D. (1940). Motivation: Theory and research. New York: Willey.

Wright, B.E. (2001). Work Motivation: A Study of the Motivational Context in Public Sector Organizations. Thesis (Ph.D.) New York: The University of New York at Ibany: Abstract Available title: DAO Accessed August 2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite