ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในงาน ของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
The Relationship between Quality of Work Life and Work Engagement Of Supporting Staff of Rajamangala University Of Technology Isan
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันในงาน, พนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันในงาน ของพนักงานในอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือพนักงานในอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 220 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับความคิดเห็นของคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความเกี่ยวข้องทางสังคมของชีวิตการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมในองค์กร ด้านโอกาสในการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ด้านความสมดุลระหว่างงานกับบทบาทของชีวิตด้านอื่น ๆ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัย และส่งเสริมสุขภาพ ด้านประชาธิปไตยในองค์กร และด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ตามลำดับ
2. การทดสอบสมมติฐานสถิติพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับปานกลางกับความผูกพันในงานของพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
References
กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.(2564). จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประจำเดือนมกราคม 2564.สืบค้นจาก: http://www.human.rmuti.ac.th/human. (2564, มกราคม 30).
เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2559). ความสัมพันธ์ของความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานต่อพันธะสัญญาทางใจและความตั้งใจลาออก. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(148). 121-148.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัย แนวทางปฏิบัติสู่ความสําเร็จ. กรุงเทพ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
ภาวิช ทองโรจน์. (2563). สภาสถาบันอุดมศึกษากับการพัฒนาอุดมศึกษา. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/users/bhes/catalog_h/StdEdu/FormCurr/PavitSpeak.pdf. (2563, พฤศจิกายน 7)
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. (2563). ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และนโยบาย. สืบค้นจาก https://www.rmuti.ac.th/2019/resolution/.(2563, ธันวาคม 10).
ลิขิตา เฉลิมพลโยธิน และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). อิทธิพลของคุณลักษณะงานและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีต่อการบริการที่เป็นเลิศผ่านความผูกพันในอาชีพของพนักงานโรงแรมในอำเภอหัวหิน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(29). 241-253.
วัชรพงษ์ อนันต์วรปัญญา.(2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานและคุณลักษณะของงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 17(2). 244-253.
วิมลสิริ อินทเกต. (2563). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการระดับพนักงานปฏิบัติการกรมขนส่งทางบก (ส่วนกลาง) กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา. (2563). องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง. วารสารชุมชนวิจัย, 14(2). 30- 43.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563, กันยายน 30). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง. สืบค้นจาก
https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607-610.
Schaufeli, W.B., and Bakker, A.B. (2004). Job demands, job resources, and their relationship with burnout and engagement A multi-sample study. Journal of Organizational Behavior, 25, 293-315.
Walton, R. E. (1973). Quality of Working Life: What Is It ?. Sloam Management Review,15,1. 11-21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์