การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
Human Resource Development of Rangsit Municipal Thanyaburi District, Pathum Thani Province
คำสำคัญ:
การพัฒนาบุคลากร, ทรัพยากรมนุษย์, การฝึกอบรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ พนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 719 คน กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 257 คน ซึ่งได้จากการคำนวณตามสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ จากประชากรทั้งหมด จำนวน 719 คน ทำการสุ่มแบบแบ่งชั้นและสุ่มอย่างง่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ t – test และ F - test ชนิดการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการศึกษาพบว่า
1. ระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านการฝึกอบรม และด้านการพัฒนา
2. การเปรียบเทียบการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า พนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ที่มีเพศ อายุ และตำแหน่งงานต่างกัน มีระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน พนักงานเทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ที่มีระดับการศึกษา และอายุงานต่างกันมีระดับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05
References
จิระพงค์ เรืองกุน. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยใช้หลักสมรรถนะ: ประสบการณ์จากองค์การชั้นนำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี. 29(2), หน้า 111-127.
ดนัย เทียนพุฒ. (2542). กลยุทธ์การพัฒนาคน : สิ่งท้าทายความสำเร็จของธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทศบาลนครรังสิต. (2563). ข้อมูลบุคลากร เทศบาลนครรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, 2563. http://rangsit.org/New/index.php/th/ สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2564.
เทิดศักดิ์ จอมศรี. (2552). การฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนาย์บริษัทเทเลคอมเอเชียร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน). ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บวรวิช นนทะวงษ์. (2553). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยจูงใจที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของบุคลากรบริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุภาพร พิศาลบุตร และยงยุทธ เกษสาคร.(2545). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.เจ พริ้นติ้ง.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธำรงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์. (2550). ทุนมนุษย์ การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ:สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ : แนวคิดและกลยุทธ์เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ไพโรจน์ สถิรยากร. (2553). การพัฒนารูปแบบฝึกอบรมเทคนิคการสอนงานปฏิบัติในหน่วยงาน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
สมบัติ กุสุมาวลี. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สมาคมการจัดกรงานบุคคลแห่งประเทศไทย.
โสภณ ภูเก้าล้วน และ ฐิติวรรณ สินธุ์นอก. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ สำหรับผู้จัดการในสายงานในทศวรรษหน้า. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นติ้ง.
อรวรรณ อุ่นใจ. (2554). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสนับสนุนให้เกิดองค์กรแห่งนวัตกรรม. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. 5th edition. New York : Haper Collins Pubblishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์