การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผล ต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครราชสีมา
The Effect of Integrated Marketing Communications Through Social Media on Purchasing Decision among Elder Customer in Nakhonratchasima
คำสำคัญ:
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ, การตัดสินใจซื้อสินค้า, สื่อสังคมออนไลน์, การพัฒนา, คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดลำพูนบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 404 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมานในการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการตลาดทางตรงผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านการส่งเสริมการขายผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้านการให้ข่าวประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ และด้านการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ส่งผลทางบวกต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์การตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ ร้อยละ 60.40 (AdjR2 =0.599)
References
ชนิกานต์ หนูทองคำ (2561). การสื่อสารการตลาดในรูปแบบสื่อสังคมออนไลน์กับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในจังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. ปทุมธานีธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ณัฐนี คงห้วยรอบ. (2559). การสื่อสารการตลาดแบบดิจิทัลที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ LAZADA ในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธนกร ลิ้มศรัณย์. (2561).“การสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลสู่การใช้บริการแอปพลิเคชันรถยนต์รับจ้างใน กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย.” วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 7(1), 90-101.
ธนาวุฒิ ทองขาว (2564). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มประดิษฐ์เศษผ้า บ้านบวกเปา จังหวัดเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ . เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ( 2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.
__________. ( 2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2556). กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://ltc-older.dop.go.th/th/know/1/47. [2564, 12 ธันวาคม].
พิมพ์ กฤตยาไชยวัฒน (2560). การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ ความไว้วางใจ และการรับรู้คุณค่าของช่องทางออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าประเภทเครื่องสำอางผ่านเฟซบุ๊คของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พฤจิตร์ สุวรรณแสง. (2563). พฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าอุปโภคที่ส่งผลต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดออนไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มช้อปปี้ในครัวเรือนของผู้บริโภคช่วงโควิค 19ในกรุงเทพมหานคร. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.xmba.ru.ac.th/IS/IS21/ 6114122022.pdf. [2564, 3 ธันวาคม].
มณีรัตน์ อนุโลมสมบัติ. (2560). สังคมผู้สูงวัยรับมือได้ด้วยเทคโนโลยี. (Update 2560 ,พฤษภาคม 5). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/642056. [2564, 3 ธันวาคม].
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: บริษัทนามีบุ๊คพับลิเคชั่นส์ จำกัด.
สุวิมล จุนพึ่งพระเกียรติ์. (2557). ผลวิจัยมายด์แชร์ชี้อีคอมเมิร์ซมาแรง แนะธุรกิจใช้ Adaptive Marketing เชื่อมโยงลูกค้าจากออนไลน์มาสู่ออฟไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก : https://www.thumbsup.in.th/adaptive-marketing-by-mindshare. [2564, 3 ธันวาคม].
สำนักบริหารการทะเบียน. (2564). สถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.bora.dopa.go.th/index.php/th/. [2564, 3 ธันวาคม].
อัฐพล วุฒิศักดิสกุล (2560). การสื่อสารการตลาดดิจิทัลกับการตัดสินใจใช้บริการขนส่งออนไลน์(Online Messengers) ผ่านแอพพลิเคชั่นของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Belch, E., and Belch, A. (1995). Advertising and Promotion : an Integrated Marketing Communications Perspective. Irwin, INC.
Cochran, W.G. (1977) . Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Cronbach, Lee. J. (1990) . Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York : Harper Collins Publishers Inc.
Kotler, P. and Armstrong, G. (2011). Marketing Management. (15th ed.). New Delhi : Prentice Hall.
Kotler, P.and Keller, K.L. (2016). Marketing management. (15th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Sanit Rachata. (2021). E-commerce ไม่ใช่แค่เรื่องของคนรุ่นใหม่ การค้าออนไลน์กำลังบูมใน กลุ่มผู้สูงวัยทั่วโลก. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://brandinside.asia/elderly-grows-the-most-in-online-platform. [2565, 3 เมษายน].
Shimp, T.A. (2000). Advertising, Promotion and Supplemental Aspects of Integrated Marketing Communications. (5th ed.). Orlando, FL: Dryden Press.
Solomon, M. R. (2009). Consumer Behavior : Buying, having. And being. (8th ed.). Upper Saddle River, NJ : Pearson Education.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์