ทัศนคติและความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ของ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการโรงแรมและสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ในช่วงสถานการณ์การโควิด-19
Attitudes and Satisfaction towards Online Japanese Learning of Students Majoring in Hotel Management and Tourism Industry of The Faculty of Management Sciences in Nakhonratchasima Rajabhat University during the COVID-19 pandemic.
คำสำคัญ:
ทัศนคติและความพึงพอใจ, การเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์, สถานการณ์โควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของนักศึกษาสาขาการจัดการโรงแรมและสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่มีต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 2) เปรียบเทียบทัศนคติและความพึงพอใจจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สาขาวิชา ความวิตกกังวล ความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสาร ผลการเรียน ระยะเวลาการใช้อินเตอร์เน็ตต่อวันและรูปแบบการเรียนที่ชอบ การวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาการจัดการโรงแรมและสาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 32 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติ t-test และสถิติ one-way analysis of variance
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านพฤติกรรมและการแสดงออก และทัศนคติโดยรวมในระดับมาก 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ด้านผู้สอนในระดับมากที่สุด ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านเนื้อหา ด้านผู้เรียน ด้านสภาพแวดล้อมและความพึงพอใจโดยรวมในระดับมาก 3) การเปรียบเทียบทัศนคติต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์จำแนกตามลักษณะของผู้เรียน พบว่า เพศมีผลต่อทัศนคติในภาพรวม ด้านอารมณ์ความรู้สึก และด้านความรู้ความเข้าใจ และพบว่ารูปแบบการเรียนที่ชอบมีผลต่อทัศนคติต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ในภาพรวม และด้านอารมณ์ความรู้สึก 4) การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์จำแนกตามลักษณะของผู้เรียน พบว่า ผลการเรียนมีผลต่อความพึงพอใจด้านเนื้อหา และพบว่าความพร้อมของอุปกรณ์สื่อสารมีผลต่อความพึงพอใจต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ในภาพรวม ด้านเนื้อหา ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์