การสื่อสารในองค์ที่มีผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากร ในวิทยาลัยนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา
Internal Communication Affected the Effectiveness of Personnel Operations in Nakhonratchasima College, NakhonRatchasima Province.
คำสำคัญ:
การสื่อสารในองค์กร, รูปแบบการสื่อสารในองค์กร, ประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากรบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการสื่อสารในองค์กรของวิทยาลัยนครราชสีมา (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการดำเนินงานของบุคลากรวิทยาลัยนครราชสีมา และ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของรูปแบบการสื่อสารในองค์กรต่อประสิทธิผลการดำเนินงานในองค์กรของบุคลากรในวิทยาลัยนครราชสีมา ประชากร คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่วิทยาลัยนครราชสีมา จำนวน 177 คน กลุ่มตัวอย่าง 123 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ANOVA และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า
- การสื่อสารภายในองค์กรที่ใช้มากที่สุด คือ การสื่อสารแบบเป็นทางการ การสื่อสารจากบนลงล่าง และการสื่อสารแบบสองทาง ตามลำดับ ส่วนการสื่อสารแบบทางเดียวใช้น้อยที่สุด
- ประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากรในวิทยาลัย ด้านที่พบมากที่สุด คือ ด้านความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ด้านผลผลิตที่สูงขององค์กร รองลงไปคือ ด้านการปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่น และด้านการปรับตัวขององค์กรให้สอดคล้องกับสภาพสังคม ตามลำดับ
- ความคิดเห็นต่อรูปแบบการสื่อสารในองค์กร เมื่อจำแนกตามอายุและประเภทบุคลากรพบว่า ไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและอายุงานที่ปฏิบัติงานในวิทยาลัยนครราชสีมาพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
- ความคิดเห็นของบุคลากรต่อประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากรเมื่อจำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา และประเภทบุคลากรพบว่าไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอายุงานพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
- รูปแบบการสื่อสารในองค์กรมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการดำเนินงานของบุคลากรในวิทยาลัยนครราชสีมา มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
คำสำคัญ : การสื่อสารในองค์กร รูปแบบการสื่อสารในองค์กร ประสิทธิผลการดำเนินงานของบุคลากร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์