อิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของ พนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

The Influence of Perceived Organizational Justice to The Innovative Working Behavior of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization Officials.

ผู้แต่ง

  • สามารถ อัยกร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ, พฤติกรรมเชิงนวัตกรรม, พนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร จำนวน 211 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

  1. ผลการศึกษาระดับของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การอยู่ในระดับมาก(=3.97) โดยด้านการมีปฏิสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านกระบวนการ และด้านผลตอบแทน และระดับของพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของพนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนครอยู่ในระดับมาก(=3.94)โดยด้านการสำรวจโอกาส มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาเป็นด้านการสร้างความคิด รองลงมาอีกเป็นด้านการทำให้ความคิดถูกยอมรับ ตามลำดับ
  2. ผลการศึกษอิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมในระดับสูงมาก ร้อยละ 64.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 โดยด้านกระบวนการมีอิทธิพลในระดับทำนายสูงมากร้อยละ 53.70 รองลงมาด้านผลตอบแทนมีอิทธิพลในระดับทำนายปานกลางร้อยละ 23.30 และด้านการมีปฏิสัมพันธ์มีอิทธิพลในระดับทำนายปานกลางร้อยละ 21.17

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-20

How to Cite

อัยกร ส. (2022). อิทธิพลของการรับรู้ความยุติธรรมในองค์การต่อพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของ พนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร: The Influence of Perceived Organizational Justice to The Innovative Working Behavior of Sakon Nakhon Provincial Administrative Organization Officials. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(1), 252–265. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/256113