การวิเคราะห์โมเดลการวัดภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วย

Analysis of the Ethical Leadership Measurement Model of Nursing Division Head Perceived by Head Nurses

ผู้แต่ง

  • วลัยนารี พรมลา, สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำจริยธรรม หัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล หัวหน้าหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โมเดลการวัดภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและยืนยันความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 390 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคล และแบบสอบถามภาวะผู้นำจริยธรรมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าเท่ากับ 0.84 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.89 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาณ (การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และองค์ประกอบเชิงยืนยัน)

          ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานพยาบาล ในโรงพยาบาลศูนย์สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบและมี 39 ข้อคำถาม มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ ตั้งแต่ 0.63 – 0.98 มีค่าสัดส่วนความแปรปรวนที่อธิบายองค์ประกอบของภาวะผู้นำจริยธรรมร้อยละ 39 ถึงร้อยละ 96เรียงค่าน้ำหนักตัวประกอบจากมากที่สุด ดังนี้ การเสียสละในการทำงาน รองลงมาได้แก่ การแสดงออกตามบรรทัดฐานทางสังคม การสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคลด้วยการสื่อสารอย่างมีจริยธรรม  การเอื้ออาทร และการสร้างบรรยากาศทางจริยธรรม ตามลำดับ โดยองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (P-value = 0.94, χ2 /df  = 0.91, RMR = 0.01, RMSEA = 0.00, CFI = 1.00, GFI = 0.92, AGFI = 0.90) สำหรับข้อค้นพบครั้งนี้ แสดงให้ทราบถึงองค์ประกอบขององค์ประกอบภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล ที่ผู้บริหารองค์การพยาบาลควรกำหนดนโยบายส่งเสริมให้เกิดภาวะผู้นำจริยธรรมอันจะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อองค์กรการพยาบาล และการนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเครื่องมือวิจัยเพื่อประเมินภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาล

References

กองการพยาบาล. (2539). คู่มือการจัดบริการพยาบาล : จากหลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะกรรมการดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงสาธารณสุข (แก้วกัลยาสิกขาลัย). (2555). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม พ.ศ. 2555 – 2559. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2551). พระบรมธรรมิกราช. จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. พมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย.

ปิยรัฐ ธรรมพิทักษ์ นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล ยุทธนา ไชยจูกุล และคานู ปริยา โมฮาน. (2558). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดพหุระดับ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 21 (1), 135 - 158.

พระธรรมปิฏก (ประยุทธ์ ปยุตโต). (2546). ภาวะผู้นำ: ความสำคัญต่อการพัฒนาคนพัฒนาประเทศ.กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม.

มณี อาภานันทิกุล วรรณภา ประไพพานิช สุปาณี เสนาดิสัย และพิศสมัย อรทัย. (2557).จริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลไทย ตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล.วารสารสภาการพยาบาล. 29(2). 5-20.

วลัยนารี พรมลา เนตรชนก ศรีทุมมา และจันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. (2561). องค์ประกอบภาวะผู้นำจริยธรรมของหัวหน้ากลุ่มงานการพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(1): 214-224.

สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย. (2546). จรรยาบรรณพยาบาลฉบับปีพุทธศักราช 2546 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.

สภาการพยาบาล. (2556). สมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.

______________. (2558). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทจุดทอง จำกัด.

สิวลี ศิริไล. (2551). จริยศาสตร์สำหรับพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). ชุดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมสาหรับผู้บริหาร ผู้บังคับบัญชา และผู้ปฏิบัติงาน: ภาวะผู้นาเชิงจริยธรรม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.). (2552). คู่มือการจัดระดับการกำกับดูแลองค์การภาครัฐตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance Rating). กรุงเทพฯ: บริษัท พรีเมียร์ โปร จำกัด.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). นโยบายและแผนกระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.

_____________________________________________________. (2558). นโยบายและแผนกระทรวงสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข

Beauchamp, T.L., & Childress, J.F. (2001). Principle of biomedical ethic. 5th ed. New York: Oxford University Press.

Brown, M. E., Trevino, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical Leadership: A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97 (2005), 117–134

Brown, M. E., & Trevino, L. K. (2006). Ethical leadership: A Review and Future Directions.The Leadership Quarterly, 17 (2006), 595 – 616.

Daft, R. L. (2012). New Era of Management. Mason, Ohio: South-Western Cengage Learning.

Fry, S. T., & Johnstone, M. (2008). Ethics in nursing practice: A guide to ethical decision making. 3 rd ed. ICN : Blackwell.

Hair, J., Blak, W.C., Barbin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle River, Prentice Hall, 168-707.

Khademfar,M. (2013). The relationship between ethical leadership and organizational performance (Small review on Malaysian studies). International Journal of Business and Social Science, 4 (1), 114 -120.

Walainaree, P.,Netchanok, S., Janjira, W. (2018). The Behaviors of Ethical leadership of Division Head Nurses at Advanced hospital under Ministry of Public Health: A Qualitative study.Indian Journal of Public Health Research & Development. 9(10): 545-549.

Yukl, G., Mahsud, R., Hassan, S., and Prussia, G.E. (2013). An Improved Measure of Ethical Leadership. Journal of Leadership & Organizational Studies. 20(1): 38–48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-25

How to Cite