กลยุทธ์การพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน
Strategies for Development Nursing Supervision Skills of Nursing Student in Faculty of Nursing of Private University
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การพัฒนา, ทักษะการนิเทศ, นักศึกษาพยาบาลศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสำคัญ และความต้องการการพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาลฯ และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การพัฒนาทักษะ การนิเทศการพยาบาลที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 12 แห่ง ที่เปิดสอนคณะพยาบาลศาสตร์ 295 คน ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบกลยุทธ์การพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาล จำนวน 10 คน และ อาจารย์พยาบาลมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับกลยุทธ์ การพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาล และแบบประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของกลยุทธ์การ พัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การพัฒนาทักษะการนิเทศการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) การพัฒนาทักษะด้านเทคนิคปฏิบัติการนิเทศการพยาบาล 2) การพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ และ 3) การพัฒนาทักษะด้านการจัดการพยาบาล และ 10 กลยุทธ์ รอง โดยมีแนวทางการพัฒนา รวม 31 ข้อ และเมื่อพิจารณาระดับความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในทุกข้อของแต่ ละด้าน พบว่า กลยุทธ์หลัก กลยุทธ์รอง และแนวทางการพัฒนา อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
References
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยปทุมธานี. (2559). ผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล. มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
จิราภรณ์ ธรรมสรางกูร ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ พิกุล พรพิบูลย์. (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). สถานการณ์คุณภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง,วารสารสภาการพยาบาล. ปีที่ 31 (ฉบับที่ 4): หน้า 20-37.
เผอิญ ณ พัทลุง. (2559, มกราคม-เมษายน). บทบาทการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยที่เป็นจริงและที่คาดหวังด้านการใช้กระบวนการพยาบาล ด้านการบันทึกทางการพยาบาล และด้านการพัฒนาความรู้ของบุคลากรในโรงพยาบาลสงขลา, วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุข ภาคใต้. ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1): หน้า 109-206.
พูนสุข หิงคานนท์. (2550). แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริการพยาบาล. ในประมวลสาระชุดวิชาการพัฒนาศักยภาพระบบบริการพยาบาล หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช: 21-25.
มะลิ จันทร์ยาง. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการนิเทศงานการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคเหนือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://www.stou.ac.th.
วันทนีย์ ตันติสุข. (2556). การพัฒนาแบบแผนการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
หรรษา เทียนทอง และ พุทธชาด สมณา,. [ออนไลน์]. (2559). การนิเทศทางการพยาบาล.
อรุณรัตน์ อินทสุวรรณ รุ่งนภา จันทรา และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2559, กันยายน-ธันวาคม). ประสิทธิภาพของรูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล โรงพยาบาลระนอง, วารสารกองการพยาบาล. ปีที่ 43 (ฉบับที่ 3): หน้า 25-43.
Glickman, Gordon, Ross-Gordon. (2009). The basic guide to supervision and instruction Leadership. The United States of America.
Hyrkas, K., and Paunonen Ilmonen, M. (2001, February). “The Effects Clinical Supervision on the Quality Care: Examining the Results of Team Supervision,” Journal of Advanced Nursing.Vol 33. pp: 492- 502.
Kimball Wiles and John T. Lovell. (1967). Supervision for Better Schools, 3rded. Englewood Cliffs, New Jersey: PrenticesHall..
Nicklin, P. (1997 ) . “A practice – centred model of clinical supervision,” Nursing Times. Vol.93 (No.46): pp. 52-54.
Proctor B.A. (1986). Cooperatiove exercise in accountability. In Marken. M., Payne. M. (eds). Enabling and ensuring. London: Council of Education and Training in youth and community work.
Turner J and Hill A. (2011). “ Implementing clinical supervision (part 1): a review of the literature,” Mental Health Nursing. Vol.31 (No.3): pp. 8-12.
Wiles and Lovell. (1967). Supervision for Better Schools. 3rded. Englewood Cliffs. New Jersey : PrenticesHall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์