ศักยภาพทางการคลังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหลุบคา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ

Financial Potential of Local Administrative Organizations: A Case Study of Lup Kha Subdistrict Administration, Kaeng Khro District, Chaiyaphum Province.

ผู้แต่ง

  • อภิชิต ดวงธิสาร, ธวัฒน์ เขตจัตุรัส, ดิเรก ถึงฝั่ง คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

คำสำคัญ:

ผู้บริหารท้องถิ่น/หัวหน้าหน่วยงานคลัง/พนักงานเจ้าหน้าที่/ขีดความสามารถในการให้บริการงานคลัง/ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

            งานวิจัยเรื่องศักยภาพการคลังขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหลุบคา อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ แบบสำรวจ และแบบอธิบาย เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปต่อเรื่องศักยภาพการคัลงขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น  2) ศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคของศักยภาพการคลัง เกี่ยวกับเรื่องบุคลากรของงานคลัง กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการจัดสรรงบประมาณของงานคลัง 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ การศึกษา และอาชีพ กับเรื่องศักยภาพการคลัง  (4) ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องศักยภาพการคลัง  ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างการพัฒนาศักยภาพการคัลงจะประสบผลสำเร็จนั้นสามารถทำได้ดังนี้ 1) ให้ความรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของประชาชนต่อการดำเนินงาน 2) กระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยเน้นให้เห็นถึงผลดีผลเสียของการมีส่วนร่วมของประชาชน 3) รณรงค์ให้มีการจัดหน่วยเคลื่อนที่สัญจรไปยังชุมชนต่าง ๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ตลอดจนวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชน 4) กระตุ้นให้ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีจิตสำนึกในการให้บริการอย่างแท้จริง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการอบรม และเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ 5) พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดขั้นตอนในการทำงานไม่ก่อให้เกิดการล่าช้า ซ้ำซ้อน และยุ่งยาก 6) รณรงค์ในด้านการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน โดยเฉพาะด้านการเงินการคลัง และใช้งบประมาณให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน 7)  รณรงค์ให้หน่วยงานราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องมาร่วมเป็นพันธมิตรทางการพัฒนาศักยภาพการคลัง ส่วนประเด็นปัญหาของงานคลังที่ควรได้รับการแก้ไขและ พัฒนาขึ้นให้ดีกว่าเดิมเรียงลำดับดังนี้คือ 1) ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขในส่วนการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของงานคลังให้ดีขึ้น  2) ต้องการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมวางแผน การควบคุม กำกับดูแล และตรวจสอบ และประเมินผลให้มากขึ้นกว่าเดิม 3) ต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์ด้านการเงินการคลังให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องและให้มากกว่าเดิม 4) ต้องการให้มีการจัดสรรงบประมาณให้ตรงตามความต้องการของประชาชนอย่างโปร่งใสให้มากกว่าเดิม และ 5) ต้องการให้ปรับปรุงแก้ไขด้านการบริการที่ล่าช้าบ้าง พัฒนาให้พนักงานมีมนุษย์สัมพันธ์ดีขึ้นกว่าเดิม สุภาพเรียบร้อยและตรงต่อเวลาให้ดีกว่าเดิมยิ่งขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-19

How to Cite