ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยปทุมธานี
The Emotional Quotient of Nursing Students Pathum Thani University
คำสำคัญ:
นักศึกษาพยาบาล ความฉลาดทางอารมณ์ ปัจจัยส่วนบุคคลบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ถึง 4 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 200 คน โดยการสุ่มตัวอย่างง่ายตามสัดส่วนของประชากรและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคล และแบบสอบถามความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต ตรวจสอบตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยหาสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับมีค่าเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล โดยสถิติทดสอบ t – test และ F – test
ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีระดับความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปกติร้อยละ 75 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความฉลาดทางอารมณ์ในแต่ละด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับปกติ ร้อยละ 66.0 – 76.0 และ 2) นักศึกษาต่างชั้นปีและเกรดเฉลี่ยต่างกันมีความฉลาดทางอารมณ์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกพร หมู่พยัคฆ์จรินทิพย์อุดมพันธุรัก ชลียา กัญพัฒนพร ชัญญา แสงจันทร์และพวงเพชร เกสร สมุทร. (2558).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล. Journal of Nursing Science. 33(Suppl): 55-65.
กรมสุขภาพจิต. (2543).คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กุลนิดา เต็มชวาลา และ สุวรรณี พุทธิศรี. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความฉลาดทางอารมณ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมปลาย (คะแนน O-NET และคะแนน กสพท.) ของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 57(3): 295 - 304.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). รายงานการศึกษาแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพครูเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่ศตวรรษที่ 21 (ฉบับย่อ) . สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). อีคิว: ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ชุมชน สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
คณะกรรมการบริหารหลักสูตร. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง 2560. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ชิสาพัชร์ ชูทอง. (2560). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในรายวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน 4000112 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4. 438-446.
นิลาวรรณ งามขำ และคณะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาในหลักสูตรสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ. 20(39): 45-56.
ประภาส ปานเจี้ยง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์และรูปแบบพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.1947-1967.
วลัยนารี พรมลา. (2558). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอกชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. 2(2): 432-438.
วรุณา กลกิจโกวินท์ จตุพร โพธิ์ปริสุทธิ์ ณัฐภัทร นิยมรัตนกิจ ธวัลรัตน์ โวหาร ภคนันท์ ล้อศิรินันท์และ วรรณกานษ์ ศรีสนธิรักษ์. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 64(1): 77-88.
วิลัยพร นุชสุธรรม. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 4(4): 505-519.
สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560).คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ :บริษัทภาพพิมพ์.
อรเพ็ญ พงศ์กล่ำ จิราวรรณ กล่อมเมฆ พรรณี ปรรคลักษ์ ธัญวรรณ คุตมาสูนย์ วรวลัญช์ บันลือทรัพย์ มณิสรา ห่วงทอง. (2560). ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัย เอกชนแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. 25(3): 9-19.
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Ed.New York.Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์