ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดกับ พฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรี

THE RELATIONSHIP BETWEEN MARKETING MIX AND CUSTOMER BEHAVIOR OF FITNESS USERS IN NONTHABURI PROVINCE

ผู้แต่ง

  • สุพัทชา สุวรรณม่วง, ยุทธนาท บุณยะชัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, พฤติกรรมของผู้ใช้บริการ, ฟิตเนส

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดเพื่อศึกษาระดับความสำคัญของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรี และเพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ที่มาใช้บริการของสถานออกกำลังกาย (Fitness) ฟิตเนสโดยอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน ซึ่งใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ สหสัมพันธ์ของ Pearson Product Moment Correlation
          ผลการวิจัยพบว่า

          1. กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30 – 39 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ/พนักงานของรัฐ และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 15,001 – 30,000 บาท

          2. ระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกด้านมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ ด้านบุคคล (People) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ด้านการจัดจำหน่าย (Place) ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ (Physical Evidence) ด้านราคา (Price) และด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ตามลำดับ

          3. ระดับความสำคัญของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรี พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยทุกด้านมีระดับความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด

          4. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการฟิตเนสในจังหวัดนนทบุรี ในทิศทางบวก ทุกด้าน

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). ธุรกิจฟิตเนสบทวิเคราะห์ธุรกิจ ประจำเดือน พฤษภาคม 2562. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์.

เปรมวดี คฤหเดช และคณะ. (2562). การรับรู้พฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนที่มาออกกำลังกายในสวนสาธารณะ กรุงเทพมหานคร. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 63(6), 455 - 466.

ฟาริดา ยุมาดีน และกิตติ แก้วเขียว. (2562). ส่วนประสมการตลาดบริการ และคุณภาพบริการที่มีผล ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 9(2). 53 - 67.

ภานุพงศ์ ลีลาวรพงศ์, พุฒิธร จิรายุส และฉัตรชัย สิริวาณีปกรณ์. (2562). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7Ps ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการฟิตเนสในโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 14(1). 218 - 225.

สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี. (2563). รายงานสถิติจังหวัดนนทบุรี สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. นนทบุรี : สำนักงานสถิติจังหวัดนนทบุรี ศาลากลาง จังหวัดนนทบุรี.

Kotler, P. and Keller, K. L. (2016). A Framework for Marketing Management. 6th ed. Global ed. Edinburgh Gate, Harlow, England: Pearson Education Limited.

Ruppert, D., & Matteson, D. S. (2015). Statistics and Data Analysis for Financial Engineering. London: Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-21

How to Cite