ความต้องการและแนวทางพัฒนาครูเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่ผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Need and Teachers Development Approach for Students’ Morality and Ethics Promotion in Private school at the North Eastern
คำสำคัญ:
การพัฒนาครู การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมผู้เรียน โรงเรียนเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ควรได้รับการพัฒนา 2) ศึกษาวิธีการที่ครูใช้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาความต้องการของครูในการรับการ พัฒนาการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) ศึกษาแนวทางพัฒนาครูเกี่ยวกับวิธีดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยขั้นตอนที่ 1 เป็นการสำรวจ ผู้ให้ข้อมูล คือ ครู จำนวน 64 คน ได้มาแบบเจาะจง ใช้แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ขั้นตอน ที่ 2 ศึกษาแนวทางพัฒนาครูเกี่ยวกับวิธีดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู จำนวน 45 คน ใช้แบบประเมินความเหมาะสม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียนโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ควรได้รับการพัฒนาเป็นลำดับแรก คือ ด้านความมีวินัย 2. วิธีการที่ครูใช้พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้เรียน ได้แก่ 1) การฝึกสมาธิการแผ่เมตตา 2) การกำหนดและฝึกการมีจริยธรรมไปในทิศทางเดียวกัน 3) การดูแลใกล้ชิด ชี้แนะผู้เรียนเป็นรายบุคคล 4) การประเมิน กำกับติดตามเป็นรายบุคคล 5) การอาศัยความร่วมมือครูและบุคลากรในโรงเรียน และผู้ปกครองในการพัฒนา ติดตาม และร่วมกันพัฒนาจริยธรรมผู้เรียน 6) การจัดสภาพแวดล้อมที่ดี 3. ครูต้องการรับการพัฒนากระบวนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) การบูรณาการสอดแทรกคุณธรรมในกิจกรรมการเรียนรู้ 2) การออกแบบและจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยอาศัยการมีส่วนร่วม 3) การกำหนดเกณฑ์และให้นักเรียนฝึกปฏิบัติเป็นประจำ 4. แนวทางพัฒนาครูเกี่ยวกับวิธีดำเนินการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ผู้เรียนในโรงเรียนเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ด้านการระบุและสรรหาครูเพื่อรับการพัฒนา ด้านการคัดเลือกครูเพื่อรับการพัฒนา ด้านการพัฒนาครูในการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้เรียน ด้านการ บริหาร จูงใจครูในการปฏิบัติงาน ด้านการธ ารงรักษาครูผู้รับการพัฒนา ด้านการสืบทอดครูผู้ส่งเสริม คุณธรรม จริยธรรมแก่ผู้เรียน ภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.38; S.D.= 0.69)
References
กรองทิพย์ นาควิเชตร. (2562ก). การพัฒนาความดีของคนไทยยุคใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการและเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรรสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ครั้งที่ 3 : การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต. The 3rd APHEIT Inaugural Academic Conference วันที่ 2 - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ Kensington English Garden Resort Khaoyai ….. Lifelong Learning อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (สสอท.) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. หน้า 485-499.
กรองทิพย์ นาควิเชตร และคณะ. (2562ข). การพัฒนาครูตามมาตรฐานวิชาชีพครู พ.ศ. 2562 : กรณีศึกษานักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา. รายงานสืบเนื่องจากสัมมนาวิชาการระดับชาติของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหาร การศึกษาแห่งประเทศไทย. โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ในวันที่ 26 เมษายน 2562.
กรองทิพย์ นาควิเชตร , ชนินทร์ นาควิเชตร. (2563). เท้า – สื่อการเรียนรู้สู่การพัฒนาจิตใจคนไทยยุคใหม่ : กรณีตัวอย่าง การนวดเท้าเพื่อความผ่อนคลาย. Educational Management and Innovation Journal. Vol. 3 No.2 May – August 2020 : 105 – 123.
กระทรวงยุติธรรม. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2560 - 2579). [ออนไลน์]. ได้จาก : http://www.moj.go.th. สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม 2560.
กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). 9 คุณธรรมพื้นฐาน. [ออนไลน์]. ได้จาก : http://ethics.nso.go.th/index.php/2016. สืบค้นเมื่อ วันที่ 2 ธันวาคม 2560.
กัลยา โสภณพนิช. (2563). บรรยายพิเศษ การพัฒนาจริยธรรมแก่เยาวชน. สัมมนาวิชาการ ระดับชาติของสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. โรงแรมปาง สวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563. คุรุสภา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. คุรุสภา.
ชญารัตน์ ทรัพย์รัตน์ และวิชิต อู่อ้น. (2560). ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการบริหารจัดการคนเก่ง ที่ส่งผลต่อผลการด าเนินการขององค์การ.RMUTT Global Business and Economics Review. 12(1) : 123 – 136.
ธีระ รุญเจริญ. (2562). จิตวิญญาณความเป็นครู ในยุคเด็ก Gen Z. กิจกรรมวันครู และรับฟังแนวคิด การพัฒนาวิชาชีพครู. วันที่ 13 มกราคม 2562 ณ ห้องประชุมล าตะคอง วิทยาลัย นครราชสีมา จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. ผดุง จิตเจือจุน (2562). สถานการณ์ปัจจุบันของเด็กและเยาวชนไทยน่าวิตกในอนาคตยิ่งน่าเป็นห่วง. มติชนออนไลน์13 มกราคม 2562. (ออนไลน์) ได้จาก https://www.matichon.co.th /columnists/news_1313057. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และนักรบ หมี้แสน. (2560). บรรณาธิการ. ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2562). พจนานุกรมไทยเป็นไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (ออนไลน์) ได้จาก : https://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-royal-institute. สืบค้นเมื่อ วันที่ 22 ตุลาคม 2562.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 68 ง 20 มีนาคม 2562.
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2561). การประชุมและน าเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 เรื่อง “คุณภาพการศึกษาสำหรับทุกคน : นวัตกรรม ความท้าทาย ความทัดเทียม และความ ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย 4.0. วันที่ 6 มกราคม 2561 จัดโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล ณ โรงแรมสบาย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562ก) การเรียนรู้อย่างจริงจังและตั้งใจ (Active Deep Learning). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้น านวตกรรม การเรียนรู้. (ออนไลน์) ได้จาก :www.curriculummandlearning.com. สืบค้น เมื่อวันท 17 ธันวาคม 2562.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562ข). การเรียนรู้เพื่อเสริมพลังสร้างสรรค์สังคม (Social Creativity). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรม การเรียนรู้. (ออนไลน์) ได้จาก : www.curriculummandlearning.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2564). ปลดล็อกศักยภาพผู้เรียน (Unlock Students’ Potential). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรม การเรียนรู้. (ออนไลน์) ได้จาก : www.curriculummandlearning.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564.
สมศรี ฐานะวุฒิกุล และคนอื่นๆ . (2556). กลยุทธ์การพัฒนาจิตสาธาณะของนักเรียนในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา. Journal of Education Naresuan University. 15(2) : 46 - 57
สุมล อมรวิวัฒน์. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศ ครูไทยในศตวรรษที่ 21 (พุทธศตวรรษที่ 26) : เกียรติคุณทางการบริหารการศึกษา ศ.ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ราชบัณฑิต. กรุงเทพฯ : บริษัท อี. ที. พับลิชชิ่ง จำกัด. หน้า 74-81.
สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2550). โครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย. การประชุมทางวิชาการการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติครั้งที่ 12. ณ โรงแรม แอมบาสซาเดอร์กรุงเทพฯ วันที่ 15 - 16 พฤศจิกายน 2550. สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. หน้า 1 - 14.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ 2561. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน .
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (ออนไลน์) ได้จาก : http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2564.
อรุณรุ่ง เอื้ออารีสุขสกุล และธีรวัฒน์ จันทึก. (2558). การบริหารจัดการคนเก่งเชิงกลยุทธ์: ปัจจัยสำคัญสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน. Veridian E – Journal, Silapakorn University. 8(3) : 1096 – 1112.
Walter, G.T., Stephen, A. S., & Jonathan P.D.. (2010). Exploring Talent Management in India : The Negleglected Role of Rewards. Journal of World Business. (45) : 109 – 121.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์