สภาพปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร

Problem and Suggestions in SEAT Framework Management Model of Integrated Schools Buengkum District Office, Bangkok Metropolitan

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา ปะกิลาเค, มีนมาส พรานป่า สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยการศึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีท, โรงเรียนเรียนร่วม

บทคัดย่อ

          การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร และ 2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้ปฏิบัติการสอน และครูการศึกษาพิเศษ จาก 5 โรงเรียน จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีดัชนีความสอดคล้อง ของแบบสอบถามระหว่าง 0.67 –1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์ อย่างมีโครงสร้างโดยเก็บข้อมูล จากผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ประกอบการบรรยายเป็นความเรียง

          ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพปัญหาการบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีท ในโรงเรียนเรียนร่วม จำนวน 4 ด้าน โดยรวมมีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการดำเนินการมากที่สุด คือ ด้านนักเรียน รองลงมา คือ ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน และด้านเครื่องมือ สำหรับด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านสภาพแวดล้อม 2. ข้อเสนอแนะและแนวทางการบริหารโดยใช้รูปแบบโครงสร้างซีทที่สำคัญในโรงเรียนเรียนร่วม คือ (2.1) ด้านสภาพแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจให้ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับทราบและร่วมมือทำงานเป็นทีม (2.2) ด้านเครื่องมือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำผลการประเมิน ผู้เรียนเฉพาะบุคคลไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ (2.3) ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการจัดทำหลักสูตรเฉพาะ และ (2.4) ด้านนักเรียน ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษและนักเรียนปกติ เพื่อพัฒนาศักยภาพทุกด้าน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ : สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2555). นโยบายการจัดการเรียนร่วมบนหลักสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : สำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

_______. (2555). การบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT Framework). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

ชลลดา สะอาดวงค์. (2557). ผลการใช้มาตรฐานการเรียนร่วม ในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 2. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ธัญชนก พิมพกรรณ. (2558). สภาพการดำเนินงานการจัดการเรียนร่วมตามโครงสร้างซีท (SEAT Framework) ของโรงเรียนเรียนร่วมที่ประสบความสำเร็จ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1-5. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฏ

อุบลราชธานี.

ธีระพงษ์ พรมกุล. (2558). สภาพการบริหารการจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) เป็นฐานรากในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพมาศ สุทธิวิรัช. (2551). ปัญหาในการจัดการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT) ในโรงเรียนแกนนำ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปกรณ์กิตติ์ ม่วงประสิทธิ์. (2561). ศึกษากระบวนการบริหารโรงเรียนที่จัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มี ความต้องการพิเศษเรียนรวม สังกัดสำนักบริหารการศึกษาพิเศษ โดยใช้โครงสร้างซีท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (2016): ปีที่ 5 ฉบับที่ 4 ปี 2561.

พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2554). การวางแผนกลยุทธ์สำหรับนักการศึกษา. สำนักวิทยาการบริการ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

พัชริดา นิลสุข. (2558). การบริหารโรงเรียนแก่นนำจัดการเรียนร่วม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ชนก สุวรรณโชติ. (2553). สภาพและปัญหาในการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีท (SEAT Framework) ด้านผู้เรียนและด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เล่ม 10, 362-376).

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก).

_______. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551. เล่มที่ 125.

ศรียา นิยมธรรม. (2555). จิตวิทยานิมานกับการศึกษาพิเศษ. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สโรชา ชัยแจ้ง. (2557). ศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการเรียนร่วมโดยใช้โครงสร้างซีทโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร เขตการศึกษา 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จิตวิทยาครูการศึกษาพิเศษ,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมและพัฒนา คุณภาพชีวิตคนพิการ.

สำนักยุทธศาสตร์การศึกษากรุงเทพมหานคร. (2562). การพัฒนาการเรียนร่วมในโรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ:สำนักยุทธศาสตร์การศึกษา.

Tjokrowardogo, E. E. (1989). A model for community participation in local school district decision making. Dissertation Abstract International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite