ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาการตัดสินใจเลือกอาชีพ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชดำริ

The Effects of a Career Self-efficacy Guidance Program on Developing Career Decision Making for Occupation Of Mathayomsuksa 4 Students at Rajadamri School

ผู้แต่ง

  • มณีรัตน์ แก้วการไร่, ปวีณา อ่อนใจเอื้อ สาขาจิตวิทายาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมแนะแนว, แนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพ, การตัดสินใจเลือกอาชีพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรับรู้ ความสามารถของตนเองด้านอาชีพเพื่อพัฒนาการตัดสินใจเลือกอาชีพ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม แนะแนวตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพเพื่อพัฒนาการตัดสินใจเลือกอาชีพ งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 72 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นจับฉลากให้ 1 ห้องเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 35 คน และอีก 1 ห้อง เป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 37คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะ แนวตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพเพื่อพัฒนาการตัดสินใจเลือกอาชีพ 2) แบบ วัดการตัดสินใจเลือกอาชีพ 3) แบบบันทึกประสบการณ์การเรียนรู้และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ การเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม และต่อผู้วิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติพาราเมตริกและ การวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดการ ตัดสินใจเลือกอาชีพสูงกว่า ก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดการตัดสินใจเลือกอาชีพ สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีความคิดเห็นว่าการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว ตามแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านอาชีพ เพื่อพัฒนาการตัดสินใจเลือกอาชีพ ช่วยให้ นักเรียนเข้าใจตนเองในด้านต่างๆ อาทิ ความสนใจ ความสามารถ ความถนัด ทักษะ ความเชื่อมั่นใน ตนเอง และบุคลิกภาพ ทำให้นักเรียนสามารถก าหนดเป้าหมายในการเลือกศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ที่เหมาะสมกับตนเอง รวมถึงสามารถพัฒนาทักษะในการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ ซึ่งส่งผลให้นักเรียนมีแนวทางในการตัดสินใจเลือกอาชีพได้อย่างมั่นใจและเหมาะสมกับตนเอง

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญญาภัทร เสนีวงศ์ ณ อยุธยา. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองด้านอาชีพ การรับรู้ความสามารถ ของตนด้านอาชีพ และความสอดคล้องในตนด้านเป้าหมายการเลือกเส้นทางอาชีพของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา ณ ลำพูน. (2538). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาทางอาชีพแบบกลุ่มตามแนวคิดแบบ วิเคราะห์ลักษณะและปัจจัยส่วนบุคคล. ครุศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาการปรึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นาฏศิลป์ คชประเสริฐ. (2557). ผลของโปรแกรมกิจกรรมแนะแนวเพื่อการตั้งเป้าหมายทางการศึกษา และอาชีพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหันคาพิทยาคม จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว. คณะ ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วชิรวิทย์ มาลาทอง. (2556 เดือนมกราคม–เมษายน 2558). ผลของกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีการเลือกอาชีพเพื่อพัฒนาการเข้าใจตนเองและการเลือกอาชีพของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประเทืองทิพย์วิทยา. Veridian E-Journal, Silpakorn University. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร. 8 (1), 1108-1119.

สมร ทองดี. (2555). การแนะแนวกับการวางแผนเข้าสู่อาชีพ. การแนะแนวกับคุณภาพชีวิต (พิมพ์ครั้ง ที่ 9) นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. อ้างถึง Bandura, A .(1977). Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Bandura, A. 1997. “Self-efficacy: The exercise of control.” New York: Freeman.22(1), 63-81.

Ginzberg, E. (1952). Toward a theory of occupational choice. Occupations: The Vocational Guidance Journal, 30(7), 491-494.

Lent, R. W., & Brown, S. D. 1996. “Social cognitive approach to career development: An overview.” The Career Development Quarterly, 44(4), 310-321.

Lent, R. W., Brown, S. D., & Hackett, G. (1994). Toward a unifying social cognitive theory of career and academic interest, choice, and performance. Journal of vocational behavior, 45(1), 79-122

Osipow, S. H., Carney, C. G., & Barak, A. (1 9 7 6 ) . A scale of educational-vocational undecidedness: A typological approach. Journal of vocational behavior, 9(2), 233-243.

Patton, W., & Creed, P. A. (2001). Developmental issues in career maturity and career decision status. The Career Development Quarterly, 49(4), 336-351.

Super, D. E. (1953). A theory of vocational development. American psychologist, 8(5), 185.

Taylor, K. M., & Betz, N. E. (1 9 8 3 ) . Applications of self-efficacy theory to the understandingand treatment of career indecision. Journal of vocational behavior, 22(1), 63-81

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite