ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความทุ่มเทในงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา
The relationship of quality of work life and dedication to work of sub-district municipal officers in Muang District, Nakhon Ratchasima Province
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน,ความทุ่มเท,เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความทุ่มเทในงานของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของความทุ่มเทในงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน และความทุ่มเทในงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้ปฏิบัติงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมาจำนวนทั้งสิ้น 166 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมของเจ้าหน้าที่ มีระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอ และยุติธรรม ด้านสภาพการทำงานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคล และด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ในขณะที่ระดับคุณภาพชีวิตด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของตนเอง ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน มีระดับความคิดเห็นในระดับมาก อันเนื่องมาจากเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมือง ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพตลอดมาโดยงานทรัพยากรบุคคลได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินงานของเทศบาลให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดไว้การบริหารศักยภาพและผลการปฏิบัติงาน คือบทบาทหลักของหน่วยงานทรัพยากรบุคคลที่สนับสนุนหน่วยงานอื่นๆ ของเทศบาลตำบล พร้อมจัดสรรค่าตอบแทน สวัสดิการทางด้านสุขภาพ และผลประโยชน์แบบเกื้อกูลอื่นๆ ที่จูงใจบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
เกษรินทร์ ไชยสงคราม. (2555). การจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานในบริษัทที่ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทางด้านผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมประจำปี 2551 และบริษัทที่ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตการทำงานจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ สถาบัณฑิต พัฒนาบริหารศาสตร์.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2561). พฤติกรรมในองค์การ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น
ดนุวัศ บุญเดช. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตพื้นที่กรุงเทพและปริมาณฑล. การค้นคว้าอิสระ.บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การประกอบการ) มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทีปกาญจน์ ชัยศิริพานิชย์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันธ์ต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทอีทีเอ (ประเทศไทย) จำกัด.ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนาคารกรุงเทพ. (2554). รายงานประจำปีธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน). กรุงเทพฯ.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2560). ระเบียบวิธีการวิจัย:แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.
รุจี อุศศิลป์ศักดิ์. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ในอำเภอเมืองเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิชิต เทพวรรณ์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality of Work Life:QWL) คุณค่าของคนสู่ผลงาน.วารสาร Strategy Marketting, 6 ตุลาคม, 118-119.
สีมา สีมานันท์. (2560). หลักสูตรเฉพาะทางสำหรับรองรับการทำงานของระบบจำแนก
สุธินี เดชะตา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตการทำงานกับความผูกพันกับองค์การของพนักงานบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Cascio, F .Wayne. (1998). Managing Human Resources:Productivity,Quality of Work Life,Profits. 5th ed. NY: McGraw-Hill Internationnal Editions
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์