ผลการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการสังเกต เพื่อพัฒนาวินัย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์)

The Effects of Learner Development Activities by Using Social Cognitive Learning Theory to Develop Discipline of Mathayomsuksa 3 Student, Seekan (Wattananunuppathum) School

ผู้แต่ง

  • ภัทรีญา เฉื่อยทอง, ปวีณา อ่อนใจเอื้อ สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน, แนวคิดการเรียนรู้โดยการสังเกต, วินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการสังเกต เพื่อพัฒนาวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการสังเกต เพื่อพัฒนาวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสีกัน (วัฒนานันท์อุปถัมภ์) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งมาด้วยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยการสังเกต เพื่อพัฒนาวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 2) แบบวัดวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา 3) แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฯ ในแต่ละครั้งและ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฯและต่อผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยสถิติพาราเมตริกและการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา ในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

          2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนจากแบบวัดวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา ในระยะหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

          3) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฯ มีความเห็นว่า กิจกรรมพัฒนาวินัยด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลาเป็นกิจกรรมที่ดี มีความน่าสนใจและเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาวินัยในด้านต่างๆทั้งในด้านความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและการตรงต่อเวลา

4) นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนฯอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

References

กนิษฐา หอมกลิ่น. (2558). ได้ศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม เพื่อพัฒนาการ เห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 1 บ้านชะอำ (ชะอำวิทยาคาร) จังหวัดเพชรบุรี.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). จิตวิทยาการกีฬา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คงคุณ แก้วแกมทอง. (2553). ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ Bandura (Online). สืบค้นจาก: http://.13nr.org/posts/339146, (2563, 9 พฤศจิกายน).

ภรณ์ทิพย์ ศิริกุลวิเชฐ. (2562,มกราคม- มิถุนายน). ผลการให้การปรึกษา แบบกลุ่มตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคมต่อการมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์14 (1): 76-90.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2558). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างถึง Bandura, A. (1986). Social foundation of thought and action : A Social Cognitive Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการพัฒนา การวัดและประเมินผลคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ส านักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนพัฒนาการศึกษา ฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555 -2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือการเสริมสร้างวินัยนักเรียนในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านความรับผิดชอบและการตรงต่อเวลา. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานฟิค.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

มหาวิทยาลัย. อ้างถึง Bandura, A .(1977). Social Learning Theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-14

How to Cite