การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์

A Study of the Logistics and Supply Chain Management System of Cassava Products in Surin Province

ผู้แต่ง

  • รวิฐา ทวีพร้อม, ชุติกร ปรุงเกียรติ, ปิยะ แก้วบัวดี คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานกับผลการดำเนินงานของธุรกิจมันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์ โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ คือ ธุรกิจมันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์ 102 แห่ง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นแล้วและใช้สถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์เนื้อหาในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า

  1. การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อผลการดำเนินงานที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
  2. แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์ทำได้ 4 แนวทาง ได้แก่ (1) เกษตรกรควรมีการเก็บข้อมูลในอดีตเพื่อใช้ในการพยากรณ์ความต้องการ (2) ควรมีการประเมินประสิทธิภาพการขนส่งมันสำปะหลังของเกษตรกร จัดทำข้อตกลงและข้อกำหนดการส่งมอบมันสำปะหลังให้ชัดเจน (3) จัดสมดุลสายการผลิตเพื่อให้สายงานผลิตมีประสิทธิภาพสูงสุดไม่เกิดกระบวนการคอขวดและ (4) ควรมีการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่เหมาะสม ตามปริมาณความจุ ของรถ จำนวนรถ เวลา ในการขนส่ง สถานที่รับมันสำปะหลัง

References

จารุวรรณ สุภาชัยวัฒน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของโลจิสติกส์ที่มีต่อความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน ของธุรกิจมันสำปะหลังเขตพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4), 198-212.

ปัญญา สังวาลคำ และ ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. (2557). การจัดการห่วงโซ่อุปทานมันสำปะหลังในเขตจังหวัดสุรินทร์ ตอนกลางของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 17(1), 49-56.

สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2559). มันสำปะหลัง: แหล่งปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทย. สืบค้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www3. rdi.ku.ac.th/?p=18045.

สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลัง จังหวัดสุรินทร์. (2559). ผู้ประกอบการธุรกิจมันสำปะหลัง. สืบค้น เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2560, จาก http://www.nettathai.org.

สลิลาทิพย์ ทิพยไกรศร และสวัสดิ์ วรรณรัต. (2560). ผลกระทบของความสามารถและความอ่อนแอของห่วงโซ่อุปทานที่มีผลต่อความยืดหยุ่นในห่วงโซ่อุปทานและส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 9(2), 36-48.

สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและเหมืองแร่. (2559). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

อุบลรัตน์แจ้งเจริญ. (2554). ปัจจัยความสําเร็จของกระบวนการโลจิสติกส์ที่ส่งผลต่อมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในธุรกิจอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ ประกอบการ, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร

Aaker, D. A., Kumer, V. and Day, G. S. (2001). Marketing research. 6thEd. New York: John Wiley & Sons.

Chopra, S. and Meindl, P. (2012). Supply chain management: strategy, planning, and operations. 5thEd. Pearson: London.

Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. 3rdEd. New York, NY: McGraw-Hill, Inc.

Pettit, T. J., Fiksel, J. and Croxton, K. L. (2010). Ensuring supply chain resilience: development of a conceptual framework. Journal of Business Logistics, 31(1), 1-21.

Supply-Chain Council. (2004). Supply-Chain Operations Reference-Model: SCOR VERSION 6.1, Supply- Chain Council:Pittsburgh., p. 2.

Hair J. F., Black, W. C., Babin B. J., Anderson, R. E., and Tatham, R. L. (2006). Multivariate Data Analysis. 6thEd. New Jersey: Pearson Education International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-26

How to Cite

ปรุงเกียรติ ช. (2022). การศึกษาระบบการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังในจังหวัดสุรินทร์: A Study of the Logistics and Supply Chain Management System of Cassava Products in Surin Province. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 313–326. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/251877