ความผูกพันของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
CUSTOMER ENGAGEMENT THAT INFLUENCES DECISION MAKING TO PERSONAL LOAN PRODUCTS WITH BANK OF AYUDHYA PUBLIC COMPANY LIMITED IN PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA PROVINCE
คำสำคัญ:
ความผูกพันของลูกค้า การตัดสินใจใช้บริการผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา ความผูกพันของลูกค้าที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารกรุงศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าที่ใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลธนาคารกรุงศรีอยุธยาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความผูกพันของลูกค้าโดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุดเมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้ดังนี้ ด้านการสร้างความซื่อสัตย์และความจริงใจอยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมา คือ ด้านการสร้างความภาคภูมิใจ และ ด้านการสร้างความมั่นใจอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ พบว่า ทุกด้านมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคล ธนาคารกรุงศรีอยุธยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กฤตยา พงษ์ศรัทธาสิน. (2558). ความผูกพันของผู้บริโภค การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ กับพฤติกรรมผู้บริโภคในเขตภาษีเจริญ. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: บริษัทธรรมสาร
สำนักงานภาคธนาคารกรุงศรีอยุธยา. (2563) รายงานสรุปข้อมูลผู้มาใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล.
[ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.krungsri.com/th/personal/loans [2563, 10 มิถุนายน].
ญาดา สามารถ. (2562). ผลกระทบของการสื่อสารทางการตลาดด้วยสื่อสังคมออนไลน์ ความผูกพันของลูกค้า และความภักดีในตราสินค้าที่มีต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางของเจนเนอเรชันวายในประเทศไทย วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 9(1): 65 – 82.
ณัฏฐธิดา วงศ์จิรทีปต์. (2562). ความผูกพันของลูกค้าในจังหวัดเชียงใหม่ต่อแบรนด์สตาร์บัคส์. วารสารวิชาการมหาลัยวิทยาลัยแม่โจ้. 6(2): 5 – 13.
ปัณณทัต จอมจักร์. (2562). การเปรียบเทียบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างส่วนประสมทางการตลาด ความพึงพอใจ ความผูกพัน การตัดสินใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ วารสารวิชาการสมาคมนักวิจัย. 23(1): 89 – 102.
วิภาส รทานจี.(2562). พิชิตใจลูกค้าธนาคารยุคใหม่ ไม่ผูกพันแบรนด์. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://positioningmag.com/1105649 , [2562, 16 พฤศจิกายน]
ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา.(2563). สินเชื่อส่วนบุคคลเติบโตในกรอบอย่างระมัด ระวังมุ่งเน้นลูกค้าคุณภาพควบคู่การบริหารต้นทุน.[ออนไลน์] สืบค้นจาก: https://www.hooninside.com/ newsfeed/79693/view/, [2563, 8 มิถุนายน].
สัมฤทธิ์ จำนงค์. (2557). ภาพลักษณ์องค์กรและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ด่วนพิเศษในประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สรยศ ยิ่งบุญ. (2556). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของลูกค้าความพึงพอใจในการให้บริการและความผูกพันของลูกค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการผลิตภัณฑ์สินเชื่อของบมจ.ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสุพรรณบุรี. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Bowden, J. L. H. (2009, June). The Process of Customer Engagement: A Conceptual Framework. Journal of Marketing Theory and Practice, 17(1): 63 – 74.
Gallup Brand Marriage. (2020). Understanding Employee Engagement. Journal of Marketing Research 29(2) [Online]. Available: http://www.frequentyasked.info/Articles/88. [2020, 21 January].
Kahn, w. A. (1990 , December). Psychological conditions of personal engagement and disengagement at work. The Academy of Management Journal, 33(4): 692 – 724.
McEwen, William J. (2005). Married to the Brand: Why Consumers Bond with Some Brands for Life. New York : Gallup Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์