การยอมรับเทคโนโลยีเครื่องชำระเงินกู้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้า ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาสิงห์บุรี

TECHNOLOGY ACCEPTANCE ON LOAN REPAYMENT MACHINE AFFECTING TO DECISIONS OF CUSTOMERS OF GOVERNMENT HOUSING BANK, SINGBURI BRANCH

ผู้แต่ง

  • อาภากร หงษ์เผือก, ภิญญาดา รื่นสุข คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี การตัดสินใจ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องชำระเงินกู้ของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาสิงห์บุรี 2)การยอมรับเทคโนโลยีเครื่องชำระเงินกู้ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ลูกค้าธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาสิงห์บุรี จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องชำระเงินกู้ ซึ่งประกอบด้วย ด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านทัศนคติต่อการใช้งาน ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน ด้านความไว้วางใจ อยู่ในระดับมากทุกด้าน การตัดสินใจใช้บริการเครื่องชำระเงินกู้อยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานการยอมรับเทคโนโลยีเครื่องชำระเงินกู้เมื่อพิจารณาเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านความไว้วางใจ 2) ด้านการรับรู้ความง่ายในการใช้งาน 3) ด้านทัศนคติต่อการใช้งาน ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเครื่องชำระเงินกู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการรับรู้ประโยชน์ ผลการศึกษาไม่เป็นไปตามสมมติฐาน

References

กมล ชวาลวิทย์. (2561). การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงิน. [ออนไลน์] สืบค้นจาก : https://thaipublica.org/2018/05/kkp-financial-literacy-18. [2562, 23 ธันวาคม]

กานต์ ภักดีสุข. (2561) ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด และการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชาชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2559) การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ชวิศา พุ่มดนตรี. (2559) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการใช้บริการพร้อมเพย์ (Prompt Pay)ของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธมนธรณ์ บุญเรือง. (2563) ความไว้วางใจ ส่วนประสมทางการตลาด การยอมรับเทคโนโลยี ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อคอนแทคเลนส์ผ่านทางออนไลน์ ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นันท์ธิดา ทองดี. (2561) อิทธิพลภาพลักษณ์องค์กร การยอมรับเทคโนโลยี และการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิชาการตลาด, คณะบริหารธุรกิจ ,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภาวินีย์ หิ่งห้อย. (2561) การยอมรับเทคโนโลยี Facebook Live และความน่าเชื่อถือของเจ้าของ Page ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าบน Facebook. ค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตยวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Cochran, W. G. (1953). Sampling Techiques. New York : John Wiley and Sons. Inc.

Davis, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly. 13(3) : 319 – 340.

Insuranger. (2019) How to invest at every age [Online], available :https://aommoney.com/stories/insuranger. [7 June]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-26

How to Cite