การสร้างมายาคติด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายในสื่อการแสดงสี่เผ่าไท เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ

The myth of make up as the significance of the 4 tribes Sisaket Province's performances for glorification of their identities

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ คำนนท์ สาขาวิชานิเทศศาสตรื คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ http://orcid.org/0000-0002-3027-2723

คำสำคัญ:

มายาคติ, การสื่อความหมาย, การแสดงสี่เผ่าไท, อัตลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมมายาคติทางด้านการแต่งหน้าและการสื่อความหมายด้วยวิธีการและเทคนิคการแต่งหน้าในสื่อการแสดงของกลุ่มชนชาติสี่เผ่าไท ในจังหวัดศรีสะเกษ จากการศึกษาพบว่า การสร้างมายาคติด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายในการสื่อการแสดงสี่เผ่าไท เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ อันได้แก่ การแต่งหน้าในสื่อการแสดงของกลุ่มชาติพันธุ์ คือ“รำเซียงข้อง”ของกลุ่มชาติพันธุ์ส่วย “เรือมมะม๊วด”ของกลุ่มชาติพันธุ์เขมร “หมอรำเรื่อง”ของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว และ “รำเซิ้งสะไน”ของกลุ่มชาติพันธุ์เยอ จากกระบวนการแต่งหน้าในแต่ละขั้นตอนมีวิธีการที่สอดคล้อง คล้ายคลึง ใกล้เคียง และเชื่อมโยง โดยวิธีการแต่งหน้าในสื่อการแสดงสี่เผ่าได้นำโครงสร้างของการแต่งหน้าและองค์ประกอบทางเข้ามาประยุกต์ใช้ในการแต่งหน้า  นอกจากนั้นการแต่งหน้าในสื่อการแสดงสี่เผ่าไทของกลุ่มชาติพันธุ์ได้สื่อความหมายร่วมกันคือ “ความงาม” ซึ่งถือเป็นมายาคติของการแต่งหน้าในสื่อการแสดงสี่เผ่าไท อันเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30

How to Cite

คำนนท์ ก. (2021). การสร้างมายาคติด้วยการแต่งหน้าเพื่อสื่อความหมายในสื่อการแสดงสี่เผ่าไท เพื่อเชิดชูอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ: The myth of make up as the significance of the 4 tribes Sisaket Province’s performances for glorification of their identities. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(2), 69–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/hsjournalnmc/article/view/251061