สรรมถนะของผู้อำนวยการและครูที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค
Colleges Director and Teacher ’S Competency Affecting the Quality of Education Management of Technical Colleges Under the Office of the Vocational Educational Commission
คำสำคัญ:
สมรรถนะ, คุณภาพการจัดการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้อำนวยการและครูวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2) ศึกษาระดับคุณภาพ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ 3) ศึกษาสมรรถนะของผู้อำนวยการและครูที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 วิทยาลัย จากวิทยาลัยเทคนิคในพื้นที่ทั่วประเทศใช้เป็นกรอบในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยให้ความน่าจะเป็นของการเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นปฏิภาคโดยตรงกับจำนวนนักเรียนในแต่ละวิทยาลัย การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน และการวิเคราะห์ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรต้นที่ส่งผลต่อตัวแปรตาม โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้อำนวยการและครูวิทยาลัยเทคนิคส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ลักษณะดังกล่าวนี้ของผู้อำนวยการและครูของแต่ละวิทยาลัยแตกต่างกันน้อย
2. คุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา ดังนี้
2.1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 3 (ปวช.3) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 (ปวส.2) อยู่ในระดับไม่ผ่าน ลักษณะดังกล่าวนี้ของแต่ละวิทยาลัยแตกต่างกันน้อย
2.2 การประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (2554-2558) อยู่ในระดับดี ลักษณะดังกล่าวนี้ของแต่ละวิทยาลัยแตกต่างกันน้อย
3. ระดับการปฏิบัติตามสมรรถนะของผู้อำนวยการและครูส่งผลทางบวกต่อคุณภาพ การจัดการศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
จรรยาบรรณผู้เขียนบทความ
ผู้เขียนบทความต้องรับรองว่าบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดหรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ มาก่อน ต้องไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นมาปรับแต่งเป็นบทความของตน และไม่ได้อยู่ระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ อีกทั้งยอมรับหลักเกณฑ์การพิจารณาและการตรวจแก้ไขบทความต้นฉบับโดยกองบรรณาธิการวารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจพิจารณาทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญตรงตามสาขาของบทความ ซึ่งผู้เขียนต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่เป็นไปตามกำหนดกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์และยกเลิกการตีพิมพ์โดยจะแจ้งให้ทราบต่อไป
ข้อความที่ปรากฏในบทความของวารสารนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนครราชสีมาแต่อย่างใด และกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตรวจประเมินบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารของวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์